Page 23 - การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม
P. 23

บทที่ 2


                                               ภาวะเศรษฐกิจและสังคม


                           การศึกษาภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่

               ที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพของครัวเรือนเกษตร รวมถึงทัศนคติความพึงพอใจของเกษตรกรที่มี

               ต่อโครงการ โดยจะท าการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา
               สถานภาพทางสังคม การถือครองที่ดินและหนังสือส าคัญในที่ดิน การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร ค่าใช้จ่ายและ

               รายได้ของครัวเรือน พร้อมทั้งศึกษาสถานภาพการท างานของครัวเรือน และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ

               โดยมีรายละเอียดการศึกษาดังนี้

               2.1  ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร

                     2.1.1 เขตพัฒนาที่ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                           จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 50.00 และเพศหญิงร้อยละ 50.00 ของเกษตรกร

               ทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 50.94 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา

               ตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 26.42 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 15.09 ระดับปริญญาตรี
               ร้อยละ 5.66 และระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงร้อยละ 1.89 ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่

               มีสถานภาพทางสังคมเป็นเกษตรกรทั่วไปร้อยละ 56.60 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือหมอดินอาสาร้อยละ

               16.04 อื่น ๆ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) รับราชการ และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร้อยละ 13.21
               กรรมการหมู่บ้านร้อยละ 9.43 ผู้ใหญ่บ้านร้อยละ 7.55 ผู้น ากลุ่มร้อยละ 2.83 และก านันร้อยละ 0.94 (ตารางที่ 2-1)


                     2.1.2 ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
                           จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 32.14 และเพศหญิงร้อยละ 67.86

               ของเกษตรกรทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 64.29 รองลงมาคือ

               ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 25.00 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 7.14
               และระดับปริญญาตรีร้อยละ 3.57 ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีสถานภาพทางสังคมเป็นเกษตรกรทั่วไปร้อยละ

               60.71 รองลงมาคือ อื่น ๆ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) ร้อยละ 17.86 กรรมการหมู่บ้าน
               ร้อยละ 10.71 ผู้ใหญ่บ้านและหมอดินอาสาร้อยละ 7.14 เท่ากัน (ตารางที่ 2-1)


                     2.1.3 ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 4
                           จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 55.88 และเพศหญิงร้อยละ 44.12

               ของเกษตรกรทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 44.12 รองลงมาคือ
               ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 35.29 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 14.71

               และระดับปริญญาตรีร้อยละ 5.88 ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีสถานภาพทางสังคมเป็นเกษตรกรทั่วไปร้อยละ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28