Page 18 - การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม
P. 18
1-5
1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
1.1) การถือครองที่ดิน หนังสือส าคัญในที่ดิน การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร
สถานภาพทางการเงินของครัวเรือน สถานภาพการท างานของครัวเรือน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
1.2) การวิเคราะห์ความพึงพอใจ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ได้ให้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
มากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
มาก ให้คะแนน 4 คะแนน
ปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน
น้อยมาก ให้คะแนน 1 คะแนน
จากนั้นน าค่าคะแนนความพึงพอใจไปวิเคราะห์ข้อมูล และก าหนดเกณฑ์
ค่าเฉลี่ยในการประเมิน ดังนี้
ค่ำเฉลี่ย ควำมหมำย
4.50 – 5.00 พึงพอใจมากที่สุด
3.50 – 4.49 พึงพอใจมาก
2.50 – 3.49 พึงพอใจปานกลาง
1.50 – 2.49 พึงพอใจน้อย
1.00 – 1.49 พึงพอใจน้อยที่สุด
2) การวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนการผลิต และการประเมินผลโครงการ ได้แก่
2.1) สภาพการผลิตและการกระจายผลผลิต โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
2.2) การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนผันแปร
และต้นทุนคงที่ โดยมีวิธีการค านวณต้นทุนรวม ดังนี้ ต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่
2.3) การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนมีวิธีการค านวณ ดังนี้
ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตที่ได้
ทั้งหมดกับต้นทุนที่เป็นเงินสด
ทั้งหมด
2.4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการลงทุน
ว่าควรจะลงทุนในการผลิตหรือไม่ ได้แก่ อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-cost Ratio: B/C
Ratio) หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ของผลตอบแทนกับต้นทุนทั้งหมด