Page 64 - Lower Songkhram River Basin
P. 64

2-48





                  2.8   การประเมินคุณภาพที่ดินและการจำแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (Land

                  Suitability Classification)

                        2.8.1 การประเมินคุณภาพที่ดินตามระบบ FAO
                             บัณฑิต ตันศิริ และคำรณ ไทรฟก (2542) กลาววา ที่ดินเปนทรัพยากรหรือเปนอุปทาน
                  (Supply) และการใชประโยชนที่ดินเปนอุปสงค (Demand) คุณภาพที่ดิน (Land quality) และ
                  คุณลักษณะที่ดิน (Land characteristics) ของที่ดินในแตละพื้นที่มีเอกลักษณเฉพาะเจาะจง เชน ที่ดิน

                  แตละแหงมีภูมิอากาศ (Climate) และสมบัติของดิน (Soil properties) ที่แตกตางกัน เปนตน
                  นอกจากนี้ยังกลาวตออีกวา เพื่อที่จะสามารถประเมินไดวาที่ดินบริเวณนั้น ๆ มีความเหมาะสมที่จะปลูก
                  พืชพรรณอะไรไดบาง มีความเหมาะสมหรือไมเหมาะสมมากนอยเพียงใด และมีขอจำกัดในดานใดบาง
                  ดังนั้นคุณภาพของที่ดินนั้น ๆ ตองมีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช เพราะพืชแตละชนิด

                  ตองการปจจัยในการเจริญเติบโต ( Land use requirements ) ที่แตกตางกัน
                        2.8.2 นิยามของคำที่ใชในการประเมินคุณภาพที่ดิน
                             ที่ดิน (Land) หมายถึง พื้นผิวโลกที่เปนแผนดิน ประกอบดวย ดิน หิน กรวด ทราย น้ำ
                  อากาศ สิ่งมีชีวิต พืชพรรณ สิ่งปกคลุม และภูมิอากาศ ที่ดินตางจากดินตรงที่ที่ดินจะตองมีคาพิกัด

                  ทางภูมิศาสตรที่ตายตัว เคลื่อนยายไมได และหมายรวมถึงสิ่งที่อยูเหนือผิวดิน คือ พืชพรรณ สิ่งมีชีวิต
                  (Biodiversity) และภูมิอากาศตลอดจนชั้นที่อยูใตดิน เชน วัตถุตนกำเนิด หิน ดิน น้ำใตดิน และแร เปนตน
                  นอกจากนี้ที่ดินยังมีคุณสมบัติของการถูกครอบครอง (Land ownership) อีกดวย แตในการประเมิน

                  คุณภาพที่ดินในที่นี้จะถือเพียงวาที่ดินประกอบดวยดิน (Soil) และภูมิอากาศ (Climate) เทานั้น
                  แตในชวงที่กำหนดแผนการใชที่ดินจะพิจารณาที่ดินครอบคลุมความหมายดังที่ไดกลาวมาแลวทั้งหมด
                             ดิน (Soil) คือ วัสดุอินทรียหรืออนินทรียที่เกิดมาจากกระบวนการกำเนิดดิน ดินที่จำแนก
                  จะมีความลึกโดยทั่วไปไมเกิน 2 เมตร ประกอบดวยชั้นดินซึ่งวางตัวตามแนวนอนมีสมบัติที่แตกตางกัน
                  ทั้งทางเคมีและกายภาพ สมบัติตาง ๆ เหลานี้สามารถตรวจสอบ วัดคาเชิงปริมาณได และถือเปนปจจัย

                  บงชี้ (Diagnostic factors) ในการประเมินคุณภาพที่ดิน
                             ภูมิอากาศ (Climate) มีความสำคัญกับการเจริญเติบโตของพืชอยางมาก จะเห็นไดจาก
                  มีการกำหนดเขตภูมิอากาศการเกษตรในหลากหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยดวยภูมิอากาศเปน

                  ปจจัยที่จำเปนและมีความสำคัญเนื่องจากเปนขอจำกัดที่ไมสามารถแกไขได หรือตองมีการลงทุนและ
                  ใชเทคโนโลยีวิทยาการสูง จึงจะสามารถสรางสภาวะภูมิอากาศเทียม (Artificial climatic condition)
                  ขึ้นมาได ปจจัยเกี่ยวกับภูมิอากาศที่นำมาประเมินความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืช ไดแก
                  อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ ปริมาณและความเขมของแสง และชั่วโมงที่มีแสงแดด เปนตน

                             คุณภาพที่ดิน (Land quality) หมายถึง คุณสมบัติของดินที่มีผลตอการใชประโยชนที่ดิน
                  (การกสิกรรม) เชน ความอุดมสมบูรณของดิน ออกซิเจนที่เปนประโยชน ความลึกของดิน อุณหภูมิ
                  อากาศ แสงสวางจากดวงอาทิตย เปนตน
                             สมบัติของที่ดิน (Land properties) หมายถึง สมบัติของดินที่ตรวจวัดเชิงปริมาณได

                  อาจจะไดจากหองปฏิบัติการหรือการตรวจสอบภาคสนาม เชน CEC, BS, pH, N, P, K, OM เนื้อดิน
                  ความลึกของดิน และการระบายน้ำของดิน เปนตน
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69