Page 13 - Lower Songkhram River Basin
P. 13

บทที่ 1

                                                          บทนำ


                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        พื้นที่ชุมน้ำแมน้ำสงครามตอนลาง ไดรับการประกาศรับรองเปนพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญ

                  ระหวางประเทศ หรือแรมซารไซต เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เปนแรมซารไซต ลำดับที่ 2,420 ของโลก
                  และเปนแรมซารไซต ลำดับที่ 15 ของประเทศไทย เปนแหลงน้ำจืดที่มีระบบนิเวศหายากไดแก ปาบุงปาทาม
                  ผืนใหญ ซึ่งมีความสำคัญในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุพืชและสัตวในระบบนิเวศ
                  เปนแหลงที่อยูอาศัยของพันธุปลาน้ำจืด ซึ่งแมน้ำสงครามถือไดวาเปนแหลงประมงพื้นบานที่มีความสำคัญ

                  ตอความมั่นคงทางอาหารของคนในพื้นที่ ตลอดจนเปนแหลงวางไขของพันธุปลาจากแมน้ำโขงที่อพยพ
                  เขามาเพื่อผสมพันธุในชวงฤดูน้ำหลาก พื้นที่นี้มีการสำรวจพบพบความหลากหลายของพันธุปลาอยางนอย
                  124 ชนิด พันธุพืช 208 ชนิด จึงมีทั้งความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจทองถิ่นและภูมิภาค พื้นที่
                  แมน้ำสงครามตอนลางในอดีตนั้น ถือเปนแหลงน้ำจืดที่ประสบปญหาการบริหารจัดการน้ำ โดยพบ

                  ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มีน้ำทวมขัง และมีขอมูลการบุกรุกและ
                  ทำลายปาในเขตตนน้ำ
                        ความสำคัญของพื้นที่ชุมน้ำมิไดจำกัดอยูเพียงเปนแหลงผลิตเทานั้น แตยังมีความสำคัญ

                  ในดานความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ชุมน้ำ ทั้งพืชน้ำ ปลา นก จุลินทรีย และ
                  สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมาย เมื่อใดก็ตามที่ธรรมชาติของพื้นที่ชุมน้ำถูกทำลายลง ยอมสงผลกระทบไปถึง
                  ทรัพยากรที่เปนผลผลิตตอเนื่องโดยตรงดวย ปจจุบันพบปญหาและการคุกคามในพื้นที่ชุมน้ำ ดังนั้น
                  เพื่อใหเกิดการตระหนักในคุณคาและความสำคัญของพื้นที่ชุมน้ำที่ควรไดรับการอนุรักษไวเปนมรดก
                  ทางธรรมชาติ เพื่อใหชุมชนไดใชประโยชนทั้งทางตรงและทางออมอยางยั่งยืนตลอดไป กลุมวางแผน

                  บริหารจัดการพื้นที่ชุมน้ำ กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จึงไดจัดทำโครงการ
                  แผนการใชที่ดินเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศแมน้ำสงครามตอนลางขึ้น
                        การจัดทำโครงการแผนการใชที่ดินเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศ

                  แมน้ำสงครามตอนลาง เพื่อศึกษาความรูความเขาใจของชุมชนตอการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                  และการใชประโยชนพื้นที่ของชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร โดยรอบพื้นที่ชุมน้ำ เพื่อจัดทำเปนเขตการอนุรักษ
                  พื้นที่ชุมน้ำอยางยั่งยืน เพื่อใหไดแผนการจัดการพื้นที่ชุมน้ำที่มีประสิทธิภาพ สามารถระบุไดวาพื้นที่ใด
                  มีความเปราะบางควรอนุรักษไว พื้นที่ใดใหใชประโยชนได และพื้นที่ใดควรมีการปรับปรุง ฟนฟู เพื่อที่จะดำรง

                  ความอุดมสมบูรณของระบบนิเวศพื้นที่ชุมน้ำตอไป

                  1.2  วัตถุประสงค
                        1.2.1 เพื่อกำหนดแผนการใชที่ดินพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศ
                        1.2.2 เพื่อศึกษาความรูความเขาใจของชุมชนโดยรอบพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศ

                  แมน้ำสงครามตอนลาง ตอการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18