Page 25 - กำหนดเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง สพข.10
P. 25
ผ-5
1.5 พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 5 หมายถึง สภาพพื้นที่เป็นที่ราบถึงที่ราบลุ่ม หรือบางแห่งอาจจะเป็นเนิน
ลาดเอียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ป่าจะถูกบุกรุกแผ้วถางไปจนหมดแล้วแปรสภาพที่ดินเป็นพื้นที่สําหรับทํา
เกษตรกรรมโดยเฉพาะการทํานา และกิจกรรมอื่นๆ และไม่จําเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการชะล้าง
พังทลายของหน้าดิน
2. ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา
2.1 ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1
สามารถจําแนกย่อยได้ 2 ชั้นคุณภาพ ได้แก่
1) พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 เอ ซึ่งจะมีพื้นที่ทั้งป่าค่อนข้างอุดมสมบูรณ์แผ่ปกคลุมไปทั่วบริเวณ มี
ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ ดังนี้
(1) ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ป่าเป็นรูปแบบอื่นอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อรักษาป่าไว้เป็น
พื้นที่ต้นน้ําลําธารอย่างแท้จริง
(2) ให้กรมป่าไม้บํารุงรักษาป่าธรรมชาติที่มีอยู่ และระงับการทําไม้โดยเด็ดขาด และ
ให้ดําเนินการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทําลายป่าอย่างเข้มงวดและกวดขัน
(3) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินใดๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 เอ ภายหลังปี พ.ศ.2526
กําหนดให้ใช้มาตรการดังนี้ หากกําหนดเป็นลุ่มน้ําชั้น 1 เอ ไปแล้วภายหลังสํารวจพบว่าเป็นที่รกร้าง
ว่างเปล่าหรือป่าเสื่อมโทรม ให้กรมป่าไม้ดําเนินการปลูกสร้างป่าทดแทนต่อไป
(4) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินใดๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 เอ ภายหลังปี พ.ศ.2526
กําหนดให้ใช้มาตรการดังนี้ หากพื้นที่กําหนดเป็นลุ่มน้ําชั้น 1 เอ ไปแล้วเป็นบริเวณที่มีประชาชนอาศัยอยู่
ดั้งเดิมอย่างถาวร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดที่ทํากินให้เป็นการถาวรเพื่อป้องกันการโยกย้ายและ
ทําให้การทําลายป่าขยายแนวออกไป
2) พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 บี ซึ่งเป็นพื้นที่ปราศจากป่าปกคลุม มีข้อกําหนดในการใช้ประโยชน์ ดังนี้
(1) พื้นที่ใดมีการเปลี่ยนสภาพเพื่อประกอบการเกษตรรูปแบบต่างๆ ไปแล้วให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณากําหนดการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ สังคม
และสภาพแวดล้อม
(2) พื้นที่ใดที่มีการพัฒนาเพื่อทําเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจรูปแบบต่างๆ ไปแล้ว หากมีการ
ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ จะต้องดําเนินการวางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ ใน
ลักษณะเอื้ออํานวยต่อการรักษาดุลยภาพของลักษณะนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ
(3) พื้นที่ใดไม่เหมาะสมต่อการเกษตรหรือการพัฒนาในรูปแบบอื่นๆ ให้กรมป่าไม้ดําเนินการ
ปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นน้ําลําธาร
(4) ในกรณีที่ต้องมีการก่อสร้างถนนผ่านเข้าไปในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นนี้หรือการทําเหมืองแร่
หน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงการจะต้องดําเนินการควบคุมการชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้น
ในบริเวณโครงการ เนื่องจากการปฏิบัติในระหว่างการดําเนินการและภายหลังเสร็จสิ้นโครงการไม่ให้มี
ตะกอนไหลลงสู่แม่น้ําจนทําให้เกิดอันตรายแก่สัตว์น้ําและไม่สามารถนํามาอุปโภคบริโภคได้
(5) ในกรณีที่หน่วยงานราชการใดจําเป็นต้องใช้ที่ดินในชั้นคุณภาพลุ่มน้ํานี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่ง
โครงการนั้นสําคัญต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติแล้ว ในส่วนราชการเจ้าของโครงการฯ จะต้อง