Page 21 - กำหนดเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง สพข.10
P. 21

ผ-1







                                                                                     ภาคผนวกที่ 1


                           การจําแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ



                        ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 ได้ให้ความเห็นชอบตามมติของ
                  คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการจําแนกเขตการใช้
                  ประโยชน์ทรัพยากรและดินป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้จําแนกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ออกเป็น
                  3 เขต ดังนี้

                        1. เขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (โซน C) หมายถึง พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพป่าสมบูรณ์

                  หรือศักยภาพเหมาะสมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของธรรมชาติและ
                  สิ่งแวดล้อม พื้นที่ลักษณะนี้ได้แก่ พื้นที่ป่าที่มีสภาพสมบูรณ์ตลอดจนพื้นที่ป่าที่ควรสงวนไว้ เพื่อรักษา
                  สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศ สถานที่ศึกษาวิจัย พื้นที่ป่าเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น พื้นที่
                  ที่กําหนดเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตามพระราชบัญญัติฯ และพื้นที่ป่าห้ามมิให้บุคคลเข้าไปหรืออยู่
                  อาศัยตามแนวเขตชายแดน

                        2. เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (โซน E) หมายถึง พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่กําหนดไว้ เพื่อผลิตไม้

                  และของป่ารวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา และการจําแนก
                  เขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่เพื่อการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ และพื้นที่ประสานการใช้
                  ประโยชน์ร่วมกันระหว่างทรัพยากรป่าไม้กับทรัพยากรอื่น เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรแร่ และ
                  ทรัพยากรพลังงาน เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติตลอดทั้งต้องไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่
                  จําแนกให้เป็นเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป พื้นที่ลักษณะนี้ได้แก่

                           1) พื้นที่พัฒนาป่าธรรมชาติ หมายถึง พื้นที่ป่าที่มีสภาพป่าไม้สมบูรณ์ มีศักยภาพเหมาะสมใน
                  การจัดการป่าไม้ตามหลักวิชาการ เพื่อยังผลให้ทรัพยากรป่าไม้มีผลิตผลสม่ําเสมอตลอดไป ให้ราษฎรได้ใช้
                  ประโยชน์จากไม้และของป่าร่วมกัน ไม่บุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่า เพื่อการอนุรักษ์ต่อไป พื้นที่
                  ลักษณะนี้ได้แก่ พื้นที่ป่าชุมชน เป็นต้น
                           2) พื้นที่พัฒนาทรัพยากรป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่มีศักยภาพสูงในการฟื้นฟูสภาพ

                  ป่า สามารถส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของส่วนราชการและเอกชนให้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการ และการ
                  พัฒนาทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน เพื่ออํานวยความสะดวกทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มีไม้ใช้
                  ในประเทศ และเพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมแบบต่อเนื่อง โดยเอาทุกส่วนของไม้มาใช้ประโยชน์ ให้
                  บรรลุผลต่อการพัฒนาด้านอุสาหกรรมตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมของชาติ พื้นที่ลักษณะนี้ได้แก่ พื้นที่
                  ปลูกป่าภาครัฐบาล พื้นที่ปลูกป่าเอกชน และพื้นที่ปลูกป่า เพื่อใช้สอยในครัวเรือน เป็นต้น

                           3) พื้นที่พัฒนาตามหลักวนศาสตร์ชุมชน หมายถึง พื้นที่ที่กําหนดไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุก
                  ทําลายป่าในรูปแบบต่างๆ โดยการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการตั้งถิ่นฐาน ให้สอดคล้องกับ
                  การใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ การใช้ประโยชน์พื้นที่กระทํา

                  ในลักษณะของวนเกษตรพื้นที่ลักษณะนี้ได้แก่ พื้นที่โครงการหมู่บ้านป่าไม้ พื้นที่สิทธิทํากิน (สทก.) พื้นที่
                  โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง และโครงการตามพระราชดําริ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26