Page 23 - กำหนดเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง สพข.10
P. 23
ผ-3
ภาคผนวกที่ 2
การกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา
ประเทศไทยมีการกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ําหรือการแบ่งเขตพื้นที่ลุ่มน้ําตามลักษณะศักยภาพทาง
อุทกวิทยา และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เพื่อประโยชน์หลักในด้านการจัดการทรัพยากร และ
สภาพแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณา 7 ข้อดังนี้
- สภาพภูมิประเทศ ใช้ลักษณะของแผ่นดิน เช่น แนวบริเวณสันเขา ยอดเขาแหลม ยอดเขามน
หุบเขา หน้าผา เชิงเขา บริเวณกัดลึก ร่องเขา ที่ราบขั้นบันได ที่ราบหรือที่ลุ่ม ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก
กระบวนการชะล้างพังทลายในอดีตและมีผลต่อการกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
- ความลาดชัน เป็นศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการชะล้างและการสูญเสียหน้าดิน เช่น
ถ้าความลาดชันสูง โอกาสที่มีการพังทลายจะมาก ปริมาณการเคลื่อนย้ายของตะกอนดินก็มีมากตาม
- ความสูงจากระดับน้ําทะเล โดยทั่วไปเมื่อความสูงจากระดับน้ําทะเลมีมาก ความลาดชันของ
พื้นที่จะเพิ่มขึ้นด้วยและมีปริมาณฝนตกมากและนานขึ้น ความสูงจากระดับน้ําทะเลจึงมีอิทธิพลต่อการ
พังทลายของหน้าดิน มีหน่วยที่ยอมรับกันเป็นสากลว่าให้วัดจากระดับน้ําทะเลปกติแล้วใช้ชื่อเรียกว่า
ความสูงจากระดับน้ําทะเลปานกลางมีหน่วยเป็นเมตร
- ลักษณะหิน โดยทั่วไปลักษณะของหินจะเกี่ยวโยงถึงการกําเนิดดินและคุณภาพของน้ําท่า จึงใช้
ชนิดของหิน อายุทางธรณีรวมทั้งคุณสมบัติที่จะแปรสภาพเป็นดินที่มีความยากง่ายต่อการถูกชะล้าง
พังทลาย
- ลักษณะดิน โดยทั่วไปดินมีความแตกต่างกันไปทั้งด้านเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยาสัมพันธ์ต่อการ
กําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา ใช้คุณสมบัติทางดินที่เกี่ยวกับความลึก ความอุดมสมบูรณ์ และความยากง่ายต่อ
การชะล้างพังทลายของชนิดดินที่ปรากฏเป็นส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นๆ
- สภาพของพืชพรรณและป่าไม้ ซึ่งหมายถึงพืชคลุมดินไม่ว่าจะเป็นวัชพืช พืชเกษตร พืชป่า
หญ้า ต้นไม้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันอาจจะพิจารณาจากรายงานของแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศจาก
ดาวเทียมที่สํารวจประจําปี ซึ่งให้สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด พืชคลุมดินดังกล่าวจะเกี่ยวพันกับ
การชะล้างผิวหน้าดิน