Page 72 - Phetchaburi-Prachuap Khirikhan Basin
P. 72

3-38





                  โดยคำนวณจากอัตราการใชน้ำเฉลี่ยของประชากรในเขตบริการของการประปาสวนภูมิภาคโดยใชสถิติ

                  ยอนหลัง 10 ป
                        3) ความตองการน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมและการทองเที่ยว คือ (1) ความตองการน้ำ

                  เพื่อการอุตสาหกรรม การประเมินความตองการน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมแบงออกเปน 2 ประเภท คือ
                  อุตสาหกรรมทั่วไปและนิคมอุตสาหกรรม โดยความตองการน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้ง
                  ในนิคมอุตสาหกรรมจะใชอัตราการใชนำตามมาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรม แหงประเทศไทย คือ
                  7 ลูกบาศกเมตรตอไรตอวัน โดยคิดวันทำงาน 300 วันตอป สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม การประเมิน

                  ความตองการน้ำโดยไดรวบรวมขอมูลจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมแตละประเภทจากรายงานทำเนียบ
                  โรงงานอุตสาหกรรมของจังหวัดตาง ๆ จากนั้นนำมาคูณกับอัตราการใชน้ำตอผลผลิตของอุตสาหกรรม
                  แตละประเภท (2) ความตองการน้ำเพื่อการทองเที่ยว การประเมินความตองการน้ำเพื่อการทองเที่ยว
                  ในปจจุบันคำนวณไดโดยนำจำนวนนักทองเที่ยวในปจจุบัน ที่ไดจากการทองเที่ยวแหงประเทศไทย

                  คูณกับอัตราการใชน้ำของนักทองเที่ยวคูณกับจำนวนวันพักแรม ในการคำนวณความตองการใชน้ำ
                  เพื่อการทองเที่ยวถือวานักทองเที่ยวเทานั้นที่มีความตองการใชน้ำ สวนนักทัศนาจรถือวามีความตองการ
                  ใชน้ำปริมาณนอยมากจนจัดวาไมมีนัยสำคัญตอการคาดประมาณความตองการใชน้ำ โดยทำการแยก
                  นักทองเที่ยวออกเปน 2 ประเภทคือ (1)นักทองเที่ยว คือ ผูมาทองเที่ยวแบบคางคืน และ

                  (2) นักทัศนาจร คือ ผูมาทองเที่ยวแบบไมคางคืน
                        4) ความตองการน้ำเพื่อรักษาสมดุลนิเวศวิทยาทายน้ำ คือ ปริมาณน้ำต่ำสุดที่ไหลในฤดูแลงของ
                  ลำน้ำนั้น ๆ ในอดีต ซึ่งประเมินจากอัตราการไหลรายวัน ในชวงระยะเวลาระหวางเดือนมกราคมถึงเมษายน

                  เนื่องจากเปนชวงที่อัตราการไหลมีคาต่ำ และทำการวิเคราะหจากสถิติขอมูลน้ำทาที่สถานีวัดน้ำในลุมน้ำ
                  ซึ่งคาอัตราการไหลต่ำสุดที่ไดเปนคาที่ความมั่นคงไมนอยกวารอยละ 80 ของเวลา ณ สถานีที่นำมาวิเคราะห
                  ผลที่ไดจะนำมากำหนดอัตราการไหลขั้นต่ำ (Minimum Flow) ในทุกลำน้ำของลุมน้ำสาขา ตอพื้นที่รับน้ำ
                  1 ตารางกิโลเมตร ความตองการปริมาณน้ำต่ำสุดดานทายน้ำ โดยปกติจะกำหนดจากผลการวิเคราะห

                  ระบบนิเวศและสิ่งแวดลอมเพื่อรักษาสมดุลของระบบ และในบางครั้งก็จะกำหนดตามปริมาณ
                  ความตองการน้ำดานทายน้ำ เชน การขับไลน้ำเค็ม-น้ำเสีย การรักษาระดับน้ำเพื่อการเดินเรือ
                  ความตองการดานอุปโภค-บริโภค อุตสาหกรรมเปนตน ดังนั้น ปริมาณน้ำต่ำสุดดานทายน้ำที่จำเปน

                  ตองรักษาไวในแตละลุมน้ำสาขาจึงมีความแตกตางกัน
                        3.6.1 โครงการพัฒนาแหลงน้ำผิวดิน
                            โครงการพัฒนาแหลงน้ำผิวดิน ที่ดำเนินการโดย กรมชลประทาน 2556 มีวัตถุประสงคเพื่อให
                  น้ำเพียงพอกับความตองการ เพื่อสงตอไปยังพื้นที่เพาะปลูก ประกอบไปดวย โครงการชลประทานขนาดใหญ

                  จำนวน 3 โครงการ โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 23 โครงการ ซึ่งจากการวิเคราะหจากขอมูล
                  สารสนเทศภูมิศาสตร พบวาโครงการชลประทานขนาดกลางมีพื้นที่รับประโยชนรวม 1,157,537 ไร คิดเปน
                  รอยละ 28.64 ของเนื้อที่ลุมน้ำหลักแมน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ เชน อางเก็บน้ำ เขื่อนปราณบุรี

                  ความจุอางเก็บน้ำ 445.00 ล้ำน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน 235,750 ไร เปนตน นอกจากนี้ยังมีโครงการ
                  ชลประทานขนาดเล็ก จำนวน 176 โครงการ มีพื้นที่รับประโยชน 331,342 ไร โครงการสูบน้ำดวยไฟฟา
                  จำนวน 23 โครงการ มีพื้นที่รับประโยชน 13,900 ไร และโครงการขุดลอกและขุดสระ จำนวน 94 โครงการ
                  มีพื้นที่รับประโยชน 21,290 ไร (ตารางที่ 3-11)





                                                                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77