Page 68 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่สรวย
P. 68

3-21





                              K = ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน (Soil erodibility factor)

                  ซึ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันดินแต่ละชนิดจะทนต่อการชะล้างพังทลายได้แตกต่างกัน โดยจะ

                  เป็นผลมาจากสมบัติเฉพาะของดินนั้นๆ สามารถวิเคราะห์ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดินนี้ จากภาพ
                  Nomograph โดยประเมินได้จากสมบัติของดิน 5 ประการคือ 1) ผลรวมปริมาณร้อยละดินของทรายแป้ง

                  และปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก 2) ปริมาณร้อยละของทราย 3) ปริมาณร้อยละอินทรียวัตถุในดิน

                  4) โครงสร้างของดิน และ 5) การซาบซึมน ้าของดิน ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้ศึกษาปัจจัยดังกล่าว

                  และให้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดินสอดคล้องตามกลุ่มชุดดิน (Soil group) แต่กลุ่มชุดดินที่ 62
                  จะใช้ค่า K จากหน่วยหินธรณีวิทยา โดยการซ้อนทับกับแผนที่ทางธรณีวิทยา ซึ่งในการประเมินอัตรา

                  การชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่า K ของกลุ่มชุดดินในภาคเหนือ ดังตารางที่ 3-3

                              LS = ค่าปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (Slope length and slope steepness factors)

                  เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลาดชันและความยาวของความลาดชัน ตามปกติแล้วค่าการชะล้างพังทลาย
                  ของดินนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อความลาดชันสูงขึ้นและเมื่อความยาวของความลาดชันลดลง ซึ่งในการประเมิน

                  อัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่าปัจจัยรวมของความลาดชันและความยาวของความลาดชัน

                  ตามกลุ่มชุดดินตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ดังตารางที่ 3-3
                              C = ค่าปัจจัยการจัดการพืช (crop management factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ

                  พืชคลุมดินซึ่งพืชแต่ละชนิดย่อมมีความต้านทานในการชะล้างพังทลายของดินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ

                  ความสูงของต้น ลักษณะพุ่ม หรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้นๆ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีพืชปกคลุมดิน
                  ปัจจัยนี้จะมีค่าเท่ากับหนึ่ง ส่วนกรณีที่พืชปกคลุมดินสามารถต้านทานการชะล้างพังทลายของดินได้ดีขึ้น

                  ส่งผลให้วิธีการปลูกพืชทุกชนิดจะให้ค่าปัจจัยนี้น้อยกว่าหนึ่ง นอกจากนี้แล้วปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ

                  การจัดการพืชนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆอีกด้วย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศนั้น
                  มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งในการประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่าปัจจัย

                  การจัดการพืชตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ดังตารางที่ 3-4

                              P = ค่าปัจจัยการอนุรักษ์ดินและน ้า (conservation practice factor) เป็นปัจจัยที่แสดง

                  ถึงมาตรการอนุรักษ์ดินและน ้าในพื้นที่นั้นๆ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ (Contouring) การปลูกพืช
                  สลับขวางความลาดเอียง (Strip cropping) เป็นต้น ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้

                  ค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ดังตารางที่ 3-4
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73