Page 120 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่สรวย
P. 120

4-2





                  รอสภาพฟื้นฟูไม้ละเมาะ ทุ่งหญ้าและพื้นที่ลุ่ม ตลอดจนพื้นที่ถูกบุกรุกเพื่อท าการเกษตร เขตพื้นที่ป่า

                  อนุรักษ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 เขตย่อย คือ

                              (1) เขตคุ้มครองสภาพป่า มีเนื้อที่ 129,317 ไร่ หรือร้อยละ 47.36 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา
                  สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันยังคงสภาพเป็น

                  ป่าสมบูรณ์ตามธรรมชาติ บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ไม้ละเมาะและพื้นที่ลุ่มที่มีความส าคัญต่อระบบนิเวศ

                  และสิ่งแวดล้อมสูง เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ จ าเป็นต้อง

                  มีการคุ้มครองสภาพป่าที่เน้นการป้องกันและอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกท าลายสภาพป่าไม้
                  ธรรมชาติอย่างเข้มงวดพื้นที่เขตนี้พบกระจายทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน ้าสาขา

                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                1) ป้องกันและคงสภาพป่าไม้ให้มีความสมบูรณ์โดยมีมาตรการจัดการตามหลักการ

                  จัดการอนุรักษ์ที่เข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง
                                2)  แนวทางการจัดการหรือการพัฒนาใดๆ ต้องค านึงถึงความยั่งยืนของระบบนิเวศ

                  และผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน ้าด้านล่างโดยเฉพาะแนวทางการให้พื้นที่ป่าเป็นตัวช่วยรักษาความสมดุล

                  ลดปัญหาการขาดแคลนน ้าของพื้นที่ลุ่มน ้าตอนล่าง เช่น การสร้างฝายชะลอน ้า การสร้างเหมืองฝาย
                  ขนาดเล็ก ต้องสร้างในบริเวณที่เหมาะสม ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ตลอดจนรณรงค์ให้

                  ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและบ ารุงรักษาผืนป่า

                                3)  สร้างจิตส านึกและส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ และพื้นที่ข้างเคียงให้รู้จัก
                  ประโยชน์และคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ให้เกิดความหวงแหนต้องการและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์

                  พื้นที่ป่าไม้

                                4)  ยึดแนวทางการด าเนินงานและมาตรการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดิน
                  ในเขตป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย และป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี

                              (2) เขตฟื้นฟูสภาพป่า 1 มีเนื้อที่ 7,405 ไร่ หรือร้อยละ 2.73 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา พื้นที่

                  ในเขตนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับเขตคุ้มครองสภาพป่า แต่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมรอการฟื้นฟูรวมถึง

                  บริเวณที่สภาพป่าไม้โดนบุกรุกท าลายเพื่อท าเกษตรกรรม และถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นที่รกร้างที่ยังคงมี
                  สภาพเป็นป่าละเมาะและลูกไม้เดิมขึ้นอยู่ พื้นที่ในเขตนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้าไปรบกวนในระยะเวลาหนึ่ง

                  จะสามารถฟื้นตัวกลับเป็นป่าสมบูรณ์ตามธรรมชาติได้ แต่บางบริเวณอาจจะต้องมีการปลูกป่าเพื่อเร่ง

                  ฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนโดยเร็วพื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่กระจายเป็นหย่อมๆ พื้นที่เขตนี้พบกระจาย

                  ทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน ้าสาขา
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125