Page 86 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 86

3-34






                            3)  การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดิน
                              การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่ส าคัญที่ส่งผลให้ทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรม

                  เพราะท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน การสูญเสียธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดิน ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์

                  ของดินลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อท าการปลูกพืชหลายๆ ครั้งในรอบปี รวมทั้ง
                  ในพื้นที่ที่มีการใช้เครื่องจักรกลในการไถพรวนดินเป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้คุณสมบัติทางกายภาพของดิน

                  เสื่อมลง และส่งเสริมให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ผลจากการชะล้างพังทลายของดินจะส่งผลกระทบ

                  ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของดิน (On-site) และพื้นที่โดยรอบ (Off-site) โดย
                  จะท าให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ลดลงเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ลดลง และเกิดการตื้นเขินของแม่น ้าล าคลอง

                  เนื่องจากมีการสะสมของตะกอนดิน ท าให้ศักยภาพในการเก็บกักน ้าของแหล่งน ้าต ่าลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้

                  จะกระทบต่อการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันการชะล้าง

                  พังทลายของดินเพื่อรักษาทรัพยากรที่ดินให้สามารถใช้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
                              การชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ

                  คุณลักษณะของดินเองและปัจจัยจากภายนอก โดยปกติแล้วการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย

                  จะเกิดขึ้นโดยมีฝนเป็นปัจจัยหลักที่ส าคัญ แต่โดยธรรมชาติแล้วจะเกิดไม่รุนแรงบนพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย
                  และมีสิ่งปกคลุมผิวดินหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง แต่มีสิ่งปกคลุมผิวดินหนาแน่นจนเม็ดฝนไม่สามารถ

                  กระทบสู่พื้นดินได้ แต่จะเกิดรุนแรงมากขึ้นถ้าพื้นที่มีความลาดชันมากขึ้นและไม่มีสิ่งปกคลุมผิวดิน

                  โดยมีกิจกรรมการใช้ที่ดินของมนุษย์เป็นตัวเร่งให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น การชะล้างพังทลายของดิน
                  นอกจากมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังส่งผลเสียทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

                              การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้สมการการสูญเสียดินสากล

                  (Universal Soil Loss Equation : USLE) ของ Wischmeier & Smith (1978) มีรูปสมการดังนี้
                                             A = R K L S C P

                              A = ค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่

                              R = ค่าที่รวมทั้งปัจจัยของน ้าฝนและการไหลบ่า (Rainfall and runoff erosivityfactor)

                  ซึ่งสามารถอธิบายได้จากค่าความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวหน้าดินกับปริมาณ
                  ความหนาแน่นของฝนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ได้น าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัย

                  การกัดกร่อนของฝน ตามวิธีการศึกษาของ Wischmeier (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) ที่มนูญและคณะ (2527)

                  ได้ศึกษาไว้มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลปริมาณน ้าฝนเฉลี่ยรายปี (Average annual rainfall) โดยใช้ค่าปริมาณ

                  น ้าฝนเฉลี่ยรายปีในช่วง 30 ปี (พ.ศ. 2531-2560) จากกรมอุตุนิยมวิทยา (2560) และมาค านวณหาค่า
                  ปัจจัยตามสมการ ดังนี้

                                  R = 0.4996*(ค่าปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี) -12.1415 (เมตริกตันต่อเฮกแตร์ต่อปี)
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91