Page 84 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 84

3-32





                                กรณีปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ควรจัดเตรียมพื้นที่ปลูกเฉพาะหลุม โดยขุดหลุม

                  ขนาด 0.75 × 0.75 × 0.75 เมตรหรือ 1 × 1 × 1 เมตรขึ้นอยู่กับขนาดของไม้ผล และรองก้นหลุมด้วยหน้าดิน

                  ร่วมกับปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยคอก จัดระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น ใช้วัสดุคลุมดิน
                  หรือปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนาแหล่งน ้า และจัดการระบบการให้น ้า

                  ในแปลงปลูกอย่างมีประสิทธิภาพไว้ใช้ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานหรือพืชขาดน ้า บริเวณที่มีความลาดชันสูง

                  ควรมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน ้า อย่างเหมาะสม เช่น การสร้างคันดิน ท าขันบันไดดิน ท าคูน ้าขอบเขา

                  ท าฐานปลูกเฉพาะต้น ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวรั้วหญ้าแฝกหรือปลูกพืชแซมระหว่างแถวไม้ผลหรือ
                  ไม้ยืนต้น

                                1.2 ดินตื้นถึงชั้นหินพื้น มีเนื้อที่ 21,717 ไร่ หรือร้อยละ 1.70 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา

                  พบบริเวณด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน ้าในเขตอ าเภอเวียงชัย และอ าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัด

                  เชียงราย
                                  แนวทางการจัดการดิน มีลักษณะแนวการจัดการและปรับปรุงแก้ไขเช่นเดียวกับ

                  ดินตื้นตื้นถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน กรณีปลูกไม้ผล ควรจัดเตรียมพื้นที่ปลูกเฉพาะหลุม โดย

                  ขุดหลุมขนาด 0.5 × 0.5 × 0.5 เมตร และเมื่อไม้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรมีไม้ค ้ายันและเอาหน้าดินบริเวณ
                  ใกล้เคียงมาผสมกับปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยคอกพูนโคนอยู่เป็นประจ า เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงท าให้ไม่ล้ม

                  ได้ง่าย

                              (2) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 524,601 ไร่ หรือร้อยละ 40.82 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา

                  ซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาและเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความลาดเทมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะและสมบัติ
                  ของดิน รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับหินและวัตถุต้นก าเนิดดิน สภาพพื้นที่

                  ไม่เหมาะกับการท าการเกษตร อีกทั้งมีความเสี่ยงในการชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าว

                  ควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน ้าล าธารปล่อยเป็นป่าธรรมชาติ อย่างไรก็ตามในกรณีที่จ าเป็นต้องน ามาใช้
                  ประโยชน์ทางด้านการเกษตร ควรมีการศึกษาความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิดที่จะปลูกให้สอดคล้อง

                  กับสภาพพื้นที่และทรัพยากรดิน ควบคู่กับการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ทั้งวิธีกลและวิธีพืชอย่าง

                  เข้มข้น เช่น การท าคูรับน ้าขอบเขา การปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวรั้วหญ้าแฝกและขุดหลุมปลูกเฉพาะต้น

                  เป็นต้น
                              (3) พื้นที่ที่ไม่พบดินมีปัญหา มีเนื้อที่ 567,430  ไร่ หรือร้อยละ 44.15 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา

                  เป็นพื้นที่ที่ไม่มีหรือมีข้อจ ากัดเล็กน้อยส าหรับการท าเกษตรกรรม สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ง่าย เช่น

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า ต้องปรับปรุงบ ารุงดินให้มีดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น โดยการใส่ปุ๋ ยเคมี
                  ในปริมาณที่เหมาะสมตามค่าการวิเคราะห์ดิน ร่วมกับปรับปรุงโครงสร้างของดินให้สามารถช่วยดูดซับ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89