Page 83 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 83

3-31






                            2)  สถานภาพทรัพยากรที่ดินในปัจจุบัน
                              ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีกระบวนการก าเนิดดินและพัฒนาการของดิน

                  ที่ซับซ้อนโดยปัจจัยที่ควบคุมการก าเนิดดิน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่หรือสภาพภูมิประเทศ

                  วัตถุต้นก าเนิดดิน สิ่งมีชีวิตหรือปัจจัยทางชีวภาพ และระยะเวลาในการก าเนิดดิน ดังนั้น ในแต่ละพื้นที่
                  ที่มีปัจจัยการควบคุมการก าเนิดดินต่างกันก็จะท าให้ทรัพยากรดินแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพ

                  ในการใช้ที่ดิน ปัญหาดินหรือข้อจ ากัดของดิน และวิธีการปรับปรุงแก้ไขที่แตกต่างกันไปด้วย

                              ดังนั้น การมีความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรดินถึงศักยภาพ และข้อจ ากัดของทรัพยากรดิน
                  จะเป็นข้อมูลส าคัญส าหรับใช้ก าหนดหรือวางแผนการใช้ที่ดินได้อย่างถูกต้องตามศักยภาพของพื้นที่

                  ตลอดจนเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงหรือจัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง จากการศึกษา

                  ข้อมูลกลุ่มชุดดินร่วมกับสภาพพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มน ้าสาขาน ้าแม่กกตอนล่าง (0305) พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่

                  ของลุ่มน ้าสาขาเป็นพื้นที่ที่ไม่พบดินมีปัญหา รองลงมา คือ พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน พื้นที่อื่นๆ และดินตื้น
                  ในที่ดอนตามล าดับ (ตารางที่ 3-2 และรูปที่ 3-1) ดังนี้

                              (1) ดินตื้นในที่ดอน มีเนื้อที่ 32,071 ไร่ หรือร้อยละ 2.51 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา ซึ่งเป็น

                  อุปสรรคของการชอนไชของรากพืชและการไถพรวน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต ่า ความสามารถ
                  ในการดูดซับน ้าและธาตุอาหารต ่า บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย ดังนั้น

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินส าหรับเกษตรกรรม จึงควรมีการจัดการพื้นที่ทั้งทางด้านทรัพยากรดิน น ้า และพืช

                  โดยการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ปลูกหญ้าแฝก
                  ตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ เพื่อช่วยชะลอการไหลบ่าของน ้าผิวดิน พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง

                  ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน ้า ทั้งวิธีกลและวิธีพืชร่วมกัน การเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพ

                  ของดิน และควรมีการพัฒนาแหล่งน ้าไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน ้า เป็นต้น ดินตื้นในที่ดอนของลุ่มน ้าสาขา

                  น ้าแม่กกตอนล่าง (0305) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                                1.1 ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน มีเนื้อที่ 10,354 ไร่ หรือร้อยละ 0.81

                  ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน ้า

                                  แนวทางการจัดการดิน เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนา และไม่มีเศษหิน หรือก้อนหิน

                  อยู่บริเวณหน้าดินมาก เพิ่มปริมาณหน้าดินโดยการใช้ปุ๋ ยพืชสด เช่น ปอเทืองแล้วไถกลบ ร่วมกับการใช้
                  ปุ๋ ยคอก ปุ๋ ยหมัก ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน ้าที่เหมาะสม เช่น การไถพรวน

                  และปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดชัน ท าแนวรั้วหญ้าแฝก เพื่อช่วยชะลอความเร็วของน ้าบน

                  ผิวดิน การปลูกพืชสลับเป็นแถบหรือโดยวิธีกลร่วมกับวิธีพืช
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88