Page 167 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 167

4-15





                                2) ส่วนที่เป็นชุมชนชนบท ไม้ผลผสมในหมู่บ้านควรพัฒนากระบวนการผลิตไม้ผล

                  และพืชผัก โดยส่งเสริมการผลิตพืชปลอดสารพิษ เพิ่มศักยภาพการผลิตโดยปรับปรุงโครงสร้างของดิน

                  ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วในพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทน
                  การใช้ปุ๋ ยเคมีและสารเคมี ตลอดจนการพัฒนาบ่อน ้าในไร่นาสนับสนุนการปลูกไม้ผล ปลูกพืชสวนผสม

                  และพืชผัก ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย

                                3)  ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ภาคเอกชน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

                  ตระหนักถึงความส าคัญของการวางผังเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดท าผังเมืองรวม
                                4)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม

                  อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นบังเกิดผลพลอยได้ที่ตามมา เช่น

                  การท่องเที่ยวการบริหารจัดการพัฒนาและอนุรักษ์

                            2)  เขตอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 1,845 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา ได้แก่
                  โรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ เขตอุตสาหกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 เขตย่อย คือ

                              (1) เขตโรงงานมีเนื้อที่ 1,708 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา ส่วนใหญ่เป็น

                  อุตสาหกรรมก่อสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โรงงาน
                  อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ได้แก่ อ าเภอเมืองเชียงราย อ าเภอแม่จัน และ

                  อ าเภอเชียงแสน เป็นต้น และอ าเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

                        รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                1)  ควบคุมมลพิษทางน ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยการจัดท าระบบการบ าบัด

                  น ้าเสียที่ถูกต้องและก าหนดนโยบายให้ผู้ก่อมลพิษต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการด าเนินการแก้ไข

                  ปัญหาและเสียค่าใช่จ่ายในการจัดการมลพิษ

                                2)  หมั่นตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบ าบัดน ้าเสียของโรงงาน และควบคุม
                  การระบายน ้าเสียอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสกปรกของน ้าก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน ้าสาธารณะ

                                3)  ส่งเสริมและผลักดันให้สถานประกอบการทุกขนาดเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวที่

                  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                                4)  ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการท ากิจกรรมCorporate Social Responsibility

                  (CSR)ของผู้ประกอบการโรงงาน เพื่อประโยชน์สุขแก่องค์กรและสังคมอันน าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

                  และสังคมอยู่ด้วยกันอย่างปกติสุข

                            (2) เขตเหมืองแร่ มีเนื้อที่ 137 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา พื้นที่ในเขตนี้
                  มีสภาพเป็นเหมืองแร่อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่พบในเขต อ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172