Page 57 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่ลาว
P. 57

บทที่ 3

                                        การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน




                  3.1  การวิเคราะห์ด้านกายภาพ


                        3.1.1  ทรัพยากรดิน
                          ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้หรือรักษาไว้ได้ แต่ดินเกิดทดแทนตามธรรมชาติ

                  ได้ช้ามาก อย่างไรก็ตามทรัพยากรดินสามารถดูแลรักษาดินให้คงคุณภาพเหมือนเดิมได้ โดยการใช้ที่ดิน

                  ให้เหมาะสม มีการบ ารุงรักษาและอนุรักษ์ดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                  ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความส าคัญต่อมนุษย์ เป็นแหล่งผลิตปัจจัยพื้นฐานในการด ารงชีวิต

                  ของมนุษย์ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค นอกจากนี้ยังมีความส าคัญต่อสิ่งมีชีวิต

                  อื่นๆด้วย เช่น เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร น ้า และที่ยึดเกาะของรากพืช เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์
                  และจุลินทรีย์หลายชนิด ซึ่งมีบทบาทที่ส าคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์อีกด้วย

                          ทรัพยากรดินเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับทรัพยากรอื่นๆ

                  โดยสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยควบคุมการก าเนิดดิน ท าให้ดินมีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกัน

                  ส่งผลให้ดินมีศักยภาพในการผลิตทั้งทางด้านการเกษตรและด้านอื่นๆ แตกต่างกันออกไป การศึกษา
                  ทรัพยากรดินในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะต้องท าความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อม ลักษณะดิน รวมถึงการ

                  จัดการพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนั้นการวิเคราะห์ทรัพยากรดินในลุ่ม

                  น ้าสาขาน ้าแม่ลาว (0303) จึงเป็นสิ่งส าคัญล าดับแรกที่ต้องด าเนินการ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพและ
                  ข้อจ ากัดของทรัพยากรดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเกษตรกรรมส าหรับใช้ในการพิจารณาด้านการ

                  วางแผนการใช้ที่ดินต่อไป

                          1)  การวิเคราะห์จัดท าหน่วยที่ดิน

                              เป็นการศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของดินให้ครอบคลุมในด้านการจัดการและ
                  การอนุรักษ์ เพื่อจัดเป็นหน่วยที่ดินที่มีสมบัติเฉพาะตัวของหน่วยที่ดินนั้นๆ และหน่วยที่ดินดังกล่าวนี้

                  จะถูกน ามาประเมินคุณภาพที่ดิน เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของที่ดิน (ส านักนโยบายและแผน

                  การใช้ที่ดินกรมพัฒนาที่ดิน, 2553) ดังนั้นในการจัดท าหน่วยที่ดินของลุ่มน ้าสาขาน ้าแม่ลาว (0303)
                  จึงน าปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชมาพิจารณาร่วมกัน ได้แก่ ลักษณะของดิน

                  ซึ่งใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดินจากรายงานส ารวจดินเพื่อการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ของส านักส ารวจและ

                  วางแผนการใช้ดิน (2550) และรายงานส ารวจดินเพื่อการเกษตรจังหวัดเชียงรายของส านัก
                  ส ารวจและวางแผนการใช้ดิน (2552) โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน เช่น
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62