Page 117 - Phetchaburi
P. 117

3-41




                                แนวทางในการจัดการพื้นที่ดินทรายจัดและดินคอนขางเปนทราย คือ

                                  -  ควรเลือกชนิดพืชที่มีศักยภาพเหมาะสมมาปลูกในบริเวณดังกลาว
                  มีการปรับปรุงบำรุงดินรวมกับมีระบบการอนุรักษดินและน้ำ เชน ในกรณีที่ปลูกขาว ควรไถกลบตอซัง
                  ปลอยทิ้งไว 3-4 สัปดาห หรือไถกลบพืชปุยสด (โสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัมตอไร ไถกลบเมื่ออายุ

                  50-70 วัน ปลอยไว 1-2 สัปดาห) รวมกับการใชปุยอินทรียน้ำหรือปุยเคมีสูตร 16-16-8 ใสปุยแตงหนา
                  หลังปกดำ 35-45 วัน นอกจากนี้ควรพัฒนาแหลงน้ำไวใชในชวงที่ขาวขาดแคลนน้ำ หรือใชปลูกขาวครั้งที่ 2
                  หรือปลูกพืชไร พืชผัก หรือพืชตระกูลถั่วหลังการเก็บเกี่ยวขาว โดยทำรองแบบเตี้ย ปรับปรุงดินดวยปุยหมัก
                  หรือปุยคอก 2-3 ตันตอไร รวมกับปุยเคมีหรือปุยอินทรียน้ำ

                                  -  ในกรณีปลูกพืชไร พืชผัก หรือไมผล ควรยกรองกวาง 6-8 เมตร คูน้ำกวาง
                  1.0-1.5 เมตร และมีคันดินอัดแนนลอมรอบ ปรับปรุงดินดวยปุยหมักหรือปุยคอก 2-3 ตันตอไร
                  รวมกับการใชปุยอินทรียน้ำหรือปุยเคมี หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ปรับปรุง
                  หลุมปลูกดวยปุยหมักหรือปุยคอก 20-35 กิโลกรัมตอหลุมในชวงเจริญเติบโต กอนเก็บผลผลิตและ

                  ภายหลังเก็บผลผลิต ใชปุยหมักหรือปุยคอกรวมกับปุยอินทรียน้ำหรือปุยเคมี ตามชนิดพืชที่ปลูก
                  พัฒนาแหลงน้ำชลประทานและจัดระบบการใหน้ำในแปลงปลูก
                                1.5  ดินตื้น มีเนื้อที่ 322,754 ไร หรือรอยละ 8.30 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ดินตื้นในที่ดอนถึงชั้นลูกรัง กอนกรวด หรือเศษหิน มีเนื้อที่ 319,396 ไร หรือรอยละ 8.22 ของเนื้อที่จังหวัด

                  พบในสภาพพื้นที่เปนลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอยถึงเนินเขา ดินตื้น การระบายน้ำดี เนื้อดินบนเปนดินรวน
                  ปนดินเหนียวปนกรวด ดินรวนปนทรายปนกรวด ปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดถึงเปนกลาง
                  เนื้อดินลางเปนดินรวนปนดินเหนียวปนกรวดมาก ดินรวนปนทรายปนกรวดมาก ปฏิกิริยาดินเปน
                  กรดรุนแรงมากถึงเปนดางปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ำถึงปานกลาง ดินตื้นในที่ดอน

                  ถึงชั้นปูนมารล มีเนื้อที่ 3,358 ไร หรือรอยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด พบในสภาพพื้นที่เปนลูกคลื่น
                  ลอนลาดเล็กนอย ดินตื้น การระบายน้ำดี เนื้อดินบนเปนดินรวนปนดินเหนียวปนกรวด ปฏิกิริยาดิน
                  เปนกลางถึงเปนดางปานกลาง เนื้อดินลางเปนดินรวนปนดินเหนียวปนกรวดมาก ดินรวนปนดินเหนียว
                  ปนทรายปนกรวดมาก ปฏิกิริยาดินเปนกลางถึงเปนดางจัด ดินมีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติสูง

                                แนวทางในการจัดการพื้นที่ดินดินตื้นจะตองมีการจัดการอยางระมัดระวัง คือ
                                  -  เลือกพื้นที่ทำการเกษตรที่มีหนาดิน ไมนอยกวา 20 เซนติเมตรและไมมี
                  กอนกรวดหรือลูกรังกระจัดกระจายอยูที่ผิวดินมากนัก สวนพื้นที่ที่เปนดินตื้นมาก และมีเศษชิ้นสวน

                  กอนกรวดหินเนื้อหยาบปะปนอยูหนาผิวดินจำนวนมากไมเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ควรใช
                  ปลูกไมยืนตนโตเร็ว
                                  -  เลือกชนิดพืชปลูกและมีการจัดการที่เหมาะสม หากเปนพืชไรควรเลือกพืช
                  ที่มีระบบรากตื้น พืชทนแลงหรือปลูกพืชแบบผสมผสาน สำหรับการปลูกไมผล ไมยืนตน ควรมีการจัดการ
                  เฉพาะหลุม ขุดหลุมปลูกใหกวางประมาณ 75x75x75 เซนติเมตร นำหนาดินหรือดินจากที่อื่นผสมกับ

                  ปุยคอกหรือปุยหมักรองกนหลุม
                                  -  มีการเขตกรรมที่เหมาะสม ไถพรวนดินใหนอยที่สุดเพื่อปองกันการชะลาง
                  พังทลายของดิน
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122