Page 93 - Nongbualamphu
P. 93

4-21





                     กิจกรรมการเกษตรแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัดหนองบัวล าภูยังประสบปัญหาด้านการถือครอง

                     ที่ดินและการเข้าถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ระบบการรับจ านองหรือการขายฝากที่ดิน จึงเป็นกลไกการเข้าถึง

                     แหล่งทุนของเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรที่ไร้ที่ท ากินจะท าการเช่าพื้นที่ท าการเกษตรหรือการใช้
                     แรงงานเข้าท าการเกษตรเพื่อแลกผลผลิต โดยไร้รายได้เป็นค่าตอบแทน ซึ่งยังคงมีเกษตรกรที่ประสบ

                     ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นจ านวนมาก กรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินจึงเป็นข้อจ ากัดในการเข้าถึงที่ดิน การสร้าง

                     ผลผลิต และรายได้ของเกษตรกรจังหวัดหนองบัวล าภู
                           4.2.3 มิติด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดหนองบัวล าภู มีการพึ่งพารายได้ซึ่งเป็น

                     ผลผลิตจากนอกภาคการเกษตรเป็นหลัก กล่าวคือผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ
                     22.01 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีสูงถึงร้อยละ 77.99 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคนของจังหวัด

                     หนองบัวล าภู ปี 2564 มีปริมาณต่ าสุด (63,002 บาทต่อคน) ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                     ตอนบน 1 อันเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยด้านกายภาพและด้านแรงงานและอาชีพ ดังกล่าวข้างต้น
                     สถานะของจังหวัดหนองบัวล าภู จึงมีสภาพเป็นเมืองบริวารส าหรับจังหวัดในกลุ่มภาค

                     ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
                           จากการวิเคราะห์ปัจจัยข้างต้นสามารถประเมินความต้องการพื้นที่ของจังหวัดหนองบัวล าภูมี ซึ่ง

                     ยังคงมีแนวโน้มความต้องการใช้ที่ดินสูงขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของจ านวนประชากร รวมถึงการประกอบ

                     อาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะเกษตรกรยังประสบปัญหาการขาดที่ดินท ากินเป็นของตนเองอยู่มาก ในส่วนของ
                     การด าเนินกิจกรรมทางการเกษตรยังพบว่าสภาพปัญหาทางธรรมชาติของดินเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่ม

                     ผลผลิต ส่งผลให้เกิดข้อจ ากัดด้านรายได้และการลงทุน ซึ่งอาจท าให้เกษตรกรมีการบุกรุกแผ้วถางที่ดินใน

                     รูปแบบไร่เลื่อนลอยในเขตป่าเพิ่มขึ้น จึงมีความจ าเป็นต้องท าการป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง
                     โดยเฉพาะการส่งเสริมด้านอาชีพเพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอ ให้เกษตรกรสามารถด ารงชีพอยู่ได้อย่าง

                     ไม่ขัดสน ซึ่งภาครัฐสามารถสนับสนุนให้เกิดการโดยบูรณาการแผนการใช้ที่ดินเข้าไว้กับแผนพัฒนา
                     จังหวัด เพื่อให้แผนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด เป็นไปอย่างสอดคล้องกับแผนการ

                     ใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับสมรรถนะที่ดิน สามารถรองรับกิจกรรมและระบบการผลิตด้าน

                     การเกษตร ให้มีการเร่งรัดพัฒนาด้านโลจิสติกส์และเส้นทางคมนาคมที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าและ
                     ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพจังหวัดหนองบัวล าภูให้มีบทบาทการเป็นเมือง

                     ด่านและช่องทางติดต่อการค้า ที่เชื่อมต่อระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ระหว่างจังหวัดในกลุ่ม
                     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นโครงข่ายและครอบคลุม


                     4.3  การวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้ DPSIR

                           การวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้กรอบแนวคิด DPSIR เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยและองค์ประกอบที่

                     เกี่ยวข้องกับการวางแผนการใช้ที่ดินและการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน จังหวัดหนองบัวล าภู
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98