Page 114 - Sa Kaeo
P. 114

5-10





                  ของการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งยากต่อการแก้ไขหรือต้องใช้เงินลงทุนสูง เช่น ดินเป็นดินทรายจัดหรือ

                  ค่อนข้างเป็นทราย ซึ่งมีผลต่อการอุ้มน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ รวมทั้งปริมาณธาตุอาหารพืชในดินมี
                  ปริมาณต่ำ หรือปัญหาดินตื้น ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของความลึกของดิน เป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโต
                  ของพืช สภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน ดังนั้นพื้นที่ในเขตนี้จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา

                  ปรับปรุงและมีมาตรการเฉพาะเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรกรรมในพื้นที่ให้สูงขึ้น รวมถึงการป้องกัน
                  ระบบนิเวศมิให้เสื่อมโทรม นอกจากนี้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
                  ในพื้นที่เขตนี้เป็นพิเศษ โดยเขตพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ำนี้ แบ่งเป็น 2 เขตย่อย ตาม
                  ศักยภาพและความเหมาะสมของที่ดินได้ดังนี้

                              (1) เขตส่งเสริมปรับเปลี่ยนการผลิต มีเนื้อที่ 1,706,524 ไร่ หรือร้อยละ 37.94 ของ
                  พื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยเขตนี้เป็นเขตอาศัยน้ำฝนทำเกษตรกรรม อยู่นอกเขตชลประทาน ที่ดินมี
                  ศักยภาพหรือไม่เหมาะสมในการทำนา ปลูกพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ยืนต้น หากต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำ
                  การเกษตรจำเป็นต้องมีการพัฒนาพื้นที่ การจัดการ หรือการปรับเปลี่ยนชนิดพืชในเหมาะสมตรงตาม

                  ศักยภาพของที่ดิน
                                ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
                                  - การใช้ที่ดินทำการเกษตรต้องมีการวางแผนการผลิตและการเพาะปลูกที่
                  ตอบสนองต่อสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ พร้อมทั้งเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมกับที่ดิน

                                  - ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
                  ในอัตราที่เหมาะสม และใส่ให้ถูกต้องตามลักษณะดิน พร้อมทั้งควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุให้แก่ดิน
                                  - ในการใช้พื้นที่เพื่อการทำนาควรมีการเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนา

                  แหล่งน้ำ เช่น การสร้างบ่อน้ำในไร่นา เพื่อเก็บกักน้ำสำหรับปลูกพืช
                                  - ส่งเสริมการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่
                              (2) เขตพัฒนาร่วมระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ มีเนื้อที่ 2,515 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของ
                  พื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยเขตนี้เป็นเขตที่สภาพพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ และปัจจุบันมี

                  การใช้ที่ดินส่วนใหญ่ปลูกยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และยูคาลิปตัส
                                ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
                                  - เจ้าหน้าที่/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่ทำการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าวควร

                  ร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสม และหาแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการสงวนและอนุรักษ์พื้นที่
                  ให้เป็นเขตป่าต้นน้ำลำธาร ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีการใช้พื้นที่เพื่อ
                  การเกษตรต้องมีแนวทางการจัดการและมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เข้มข้น จริงจัง และต่อเนื่อง
                  ไม่ควรปลูกพืชไร่หรือพืชที่ต้องมีการไถพรวนดินเพื่อเตรียมพื้นที่ในทุกรอบการปลูก เนื่องจากพื้นที่
                  บริเวณนี้มีความลาดชันสูงทำให้เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน

                                  - ปรับปรุงแก้ไขสภาพดินปัญหาพร้อมทั้งจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำตามหลัก
                  วิชาการ
                                  - ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืชที่เป็นชีวภาพทดแทนการใช้

                  สารเคมี เนื่องจากสารเคมีจะตกค้างในดินและแหล่งน้ำ และจะส่งผลต่อระบบนิเวศของพื้นที่ปลายน้ำ



                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119