Page 113 - Sa Kaeo
P. 113

5-9





                  การลงทุนของเกษตรกร การควบคุมคุณภาพของผลผลิต การจัดการตลาดที่จะรับซื้อผลผลิตทางการ

                  เกษตรที่เป็นระบบ
                          2.2)  เขตพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง มีเนื้อที่ 1,047,215 ไร่ หรือร้อยละ
                  23.27 ของพื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยเขตนี้เป็นเขตอาศัยน้ำฝนทำเกษตรกรรม อยู่นอกเขตชลประทาน เป็น

                  พื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลางถึงสูงสำหรับการทำนา พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ยืนต้น แต่อาจมีข้อจำกัดของ
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการที่สามารถแก้ไขได้ง่าย เขตพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง
                  แบ่งเป็น 4 เขตย่อย ตามศักยภาพและความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
                              (1) เขตทำนา มีเนื้อที่ 333,411 ไร่ หรือร้อยละ 7.41 ของเนื้อที่จังหวัดสระแก้ว สภาพ

                  พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ที่ดินมีศักยภาพปานกลางถึงสูงในการทำนา
                              (2) เขตปลูกพืชไร่เพื่ออุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 383,892 ไร่ หรือร้อยละ 8.54 ของเนื้อที่
                  จังหวัดสระแก้ว โดยเขตนี้เป็นเขตอาศัยน้ำฝนทำเกษตรกรรม อยู่นอกเขตชลประทาน สภาพพื้นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีศักยภาพปานกลางถึงสูงในการปลูกพืชไร่ มีการใช้

                  ที่ดินปลูกพืชเพื่อรองรับภาคธุรกิจและรักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชที่ต้องการพึ่งพา
                  การแปรรูป การใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เป็นต้น และหากมี
                  แหล่งน้ำในไร่นา เกษตรกรสามารถเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผัก
                  ทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้

                              (3) เขตพื้นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขัน มีเนื้อที่ 329,912 ไร่ หรือร้อยละ 7.32 ของเนื้อ
                  ที่จังหวัดสระแก้ว โดยเขตนี้เป็นเขตอาศัยน้ำฝนทำเกษตรกรรม อยู่นอกเขตชลประทาน สภาพพื้นที่ราบเรียบ
                  หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีศักยภาพปานกลางถึงสูงในการปลูกไม้ผล พืชผัก ไม้ยืนต้น
                  เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกและแข่งขันกับต่างประเทศ

                                ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่เขตพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง
                                  - ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย
                  พืชสด เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินเพิ่มการอุ้มน้ำของดินและเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับ
                  พืช ร่วมกับการใส่ปุ๋ยในอัตราส่วนที่เหมาะสม

                                  - ควรมีการปรับสภาพพื้นที่ในแปลงนาข้าว เพื่อควบคุมระดับการขังของน้ำใน
                  ระหว่างการเพาะปลูกให้เหมาะสม
                                  - ปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้มีการกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น

                                  - ควรเพิ่มกิจกรรมการผลิต พืช ปศุสัตว์ ประมง ให้มีความเกื้อกูลกัน
                                  - พิจารณาดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ รวมทั้งการปรับปรุง
                  ประสิทธิภาพแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้มีการกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น
                                  - ควรพัฒนาสระน้ำในไร่ที่มีขนาดพื้นที่ถือครอง เท่ากับหรือมากกว่า 10 ไร่
                                  - ควรมีการขุดลอกคลองและเพิ่มท่อลอดตามถนนสายหลักที่สร้างขวางทางเดินน้ำ

                  เพื่อการระบายน้ำในพื้นที่ปลูกข้าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ให้เกิดน้ำแช่ขังเป็นเวลานานจนข้าวเสียหาย

                        2.3)  เขตพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ำ มีเนื้อที่ 1,709,039 ไร่ หรือ ร้อยละ
                  37.99 ของพื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยเขตนี้เป็นเขตอาศัยน้ำฝนทำเกษตรกรรม อยู่นอกเขตชลประทาน เป็น
                  พื้นที่ที่มีศักยภาพต่ำหรือไม่เหมาะสมสำหรับการทำนา พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ยืนต้น เนื่องจากมีข้อจำกัด



                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118