Page 112 - Sa Kaeo
P. 112

5-8





                          2.1)  เขตเกษตรกรรมชั้นดี พื้นที่ของเขตนี้กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมในพื้นที่ชลประทาน

                  มีเนื้อที่ 142,865 ไร่ หรือร้อยละ 3.18 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐมีการลงทุนสร้างโครงสร้าง
                  พื้นฐานด้านการเกษตรกรรม เช่น โครงการชลประทาน และเป็นพื้นที่ซึ่งดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลาง
                  ถึงสูง แต่อาจมีข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการที่สามารถแก้ไขได้ง่าย พื้นที่เขตเกษตรกรรม

                  ชั้นดีแบ่งเป็น 4 เขตย่อย ตามศักยภาพและความเหมาะสมของที่ดิน ดังนี้
                              (1) เขตทำนา มีเนื้อที่ 66,005 ไร่ หรือร้อยละ 1.47 ของเนื้อที่จังหวัดสระแก้ว มีสภาพ
                  พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบชลประทานทำให้สามารถทำนาได้ผลผลิตสูง ที่ดินมี
                  ศักยภาพในการผลิตข้าว พื้นที่เขตนี้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้

                              (2) เขตปลูกพืชไร่ มีเนื้อที่ 48,877 ไร่ หรือร้อยละ 1.09 ของเนื้อที่จังหวัดสระแก้ว สภาพ
                  พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างเรียบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีระบบชลประทาน ที่ดินมีศักยภาพในการปลูก
                  พืชไร่ โดยปัจจุบันมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ปลูกอ้อยโรงงานและมันสำปะหลัง เกษตรกรสามารถเปลี่ยนการใช้
                  ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพื้นที่เขตนี้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตร

                  ผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้
                              (3) เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 5,766 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่จังหวัดสระแก้ว สภาพ
                  พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีระบบชลประทาน ที่ดินมีศักยภาพในการปลูกไม้
                  ผลและพืชผัก โดยปัจจุบันมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ปลูกมะม่วงและลำไย พื้นที่เขตนี้เกษตรกรสามารถ

                  ปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้
                              (4) เขตปลูกไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 22,217 ไร่ หรือร้อยละ 0.49 ของเนื้อที่จังหวัดสระแก้ว
                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีระบบชลประทาน ที่ดินมีศักยภาพในการ
                  ปลูกไม้ยืนต้น โดยปัจจุบันมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ปลูกยูคาลิปตัส ยางพารา และปาล์มน้ำมันพื้นที่เขตนี้

                  เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้
                                ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่เขตเกษตรกรรมชั้นดี
                                  - ควรพัฒนาเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
                                  - ควรพัฒนาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของพืช และสัตว์ ปลา เพิ่มขึ้น

                                  - แปลงนาข้าว ควรมีการปรับสภาพพื้นที่ในให้สม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับการขัง
                  ของน้ำในระหว่างการเพาะปลูกให้เหมาะสม
                                  - ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย

                  พืชสด เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน และเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
                  สำหรับพืช ร่วมกับการใส่ปุ๋ยในอัตราส่วนที่เหมาะสม
                                  - ควรปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน
                                  - แนะนำให้มีการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
                  รวมถึงการแนะนำส่งเสริมให้มีการปลูกพืช และไถพรวนขวางความลาดชันของพื้นที่

                                  - พัฒนาองค์กรเกษตรในเขตดังกล่าวให้มีความเข้มแข็ง สามารถ ดำเนินการเพื่อ
                  ช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งในด้านปัจจัยการผลิตที่มีราคาค่อนข้างสูงและคุณภาพของปัจจัย การผลิตที่ต้องอยู่
                  ในระดับที่ดี เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช และกิ่งพันธุ์ ปัญหาหนี้สินของ เกษตรกรซึ่งมีผลต่อ






                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117