Page 11 - khonkaen
P. 11

บทที่ 1

                                                         บทนํา




                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        ตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 72 (1) ไดมีการบัญญัติใหมีการ
                  วางแผนการใชที่ดินของประเทศใหเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนา
                  อยางยั่งยืน ตอมาไดมีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่
                  6 เมษายน 2561 มีแผนการปฏิรูปดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ซึ่งกําหนดใหมีการจัดทํา

                  แผนการใชที่ดินของชาติทั้งระบบใหสอดคลองและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนา
                  เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปรับปรุงแผนการใชที่ดินตําบลจํานวน 7,225 ตําบล ใหแลวเสร็จ
                  ภายในป 2565 ตลอดจนนําแผนการใชที่ดินตําบลไปสูการปฏิบัติเพื่อเปนไปตามรัฐธรรมนูญแหง

                  ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนปฏิรูปประเทศ
                        ทรัพยากรที่ดิน เปนทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญในการดํารงชีพของมนุษย ประเทศไทย
                  เปนประเทศเกษตรกรรมซึ่งที่ดินเปนปจจัยหลักการเพิ่มขึ้นของประชากร ประกอบกับความตองการใช
                  ที่ดิน เพื่อใชในกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาอื่นก็มีแนวโนมที่เพิ่มขึ้น เชน การพัฒนาเมืองเขต
                  อุตสาหกรรม เปนตน ดังนั้น ปญหาที่เกิดขึ้นในการใชประโยชนที่ดิน คือ การนําพื้นที่เหมาะสมทาง

                  การเกษตรมาใชในการขยายเมือง การนําพื้นที่ที่ไมเหมาะสมตอการเกษตรมาใชในการเกษตร การใช
                  ประโยชนจากที่ดินที่ไมถูกตองตามหลักวิชาการ ทําใหเกิดปญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งสงผล
                  กระทบทั้งทางตรงและทางออมตอเกษตรกร ชุมชนและประเทศชาติ ปญหาของทรัพยากรดิน และ

                  การใชที่ดิน ไดแก ปญหาความเสื่อมโทรมของดินและปญหาการใชประโยชนที่ดิน ปญหาความเสื่อมโทรม
                  ของดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใชที่ดินที่ไมถูกตองตามหลักวิชาการ ตัวอยาง
                  ของปญหา เชน การชะลางพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย และปญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดิน
                  รวมกับการกระทําของมนุษย เชน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้น ปญหา

                  การใชประโยชนที่ดินทางดานเกษตรกรรมของประเทศไทย ไดแก การชะลางพังทลายของหนาดิน
                  พื้นที่ที่มีปญหาการชะลางพังทลายของดินมากที่สุด คือ ภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ ปญหาดินขาด
                  อินทรียวัตถุอยูในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินที่มีปญหาตอการใชประโยชนทางดานเกษตรกรรม
                  ซึ่งสวนใหญอยูในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สวนดินเค็ม ดินกรดและดินคอนขางเปนทราย

                  อยูในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดําเนินการเพื่ออนุรักษฟนฟูทรัพยากรดิน ใหเปนปจจัยพื้นฐาน
                  ของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการกําหนดแนวทางการอนุรักษดินและน้ํา การพัฒนาระบบขอมูลดิน
                  การศึกษาวิจัยทําแปลงสาธิตในพื้นที่เกษตรและใหความรู เผยแพรแนวทางการจัดการทรัพยากรดินที่
                  เหมาะสม และถายทอดใหแกเกษตรกรนําไปปฏิบัติไดอยางถูกตอง ทั้งนี้การดําเนินการตามมาตรการ

                  อนุรักษดินและน้ําการฟนฟูและอนุรักษดินเพื่อการเกษตร มีการฟนฟูดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ
                  ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินขาดอินทรียวัตถุ และดินชะลางพังทลาย การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ
                  ของที่ดินนี้จะพิจารณาเฉพาะปญหาสําคัญ ไดแก ปญหาการชะลางพังทลายที่ดิน ทําใหสูญเสียธาตุ

                  อาหารของพืช ปญหาดินเค็ม และปญหาดินถลม การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณจากดินเค็ม




                  แผนการใชที่ดินจังหวัดขอนแกน                                    กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16