Page 64 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 64

3-8





                            2) การชะล้างพังทลายของดิน

                              การชะล้างพังทลายของดิน เป็นปรากฏการณ์การที่หน้าดินถูกน้ าหรือลมกัดเซาะและ
                  พัดพาไปทับถมที่อื่น เป็นผลท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดินซึ่งเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืช และกระทบต่อ
                  ประสิทธิภาพในการผลิตพืช ซึ่งการชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นในประเทศไทยส่วนใหญ่มีอิทธิพลจากน้ า

                  โดยหลังจากจากที่เม็ดฝนกระแทกผิวดิน มีผลท าให้เม็ดดินแตกเป็นอนุภาคเล็ก ส่วนหนึ่งไหลซึมลงไปในดิน
                  ขณะที่ส่วนหนึ่งอุดตามช่องว่างในเนื้อดิน ท าให้การซึมของน้ าลดลง และเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ าท าให้เกิดการ
                  ไหลบ่าล้นผิวดิน แล้วพัดพาตะกอนดินสู่ที่ต่ า ความเร็วและแรงของน้ าเพิ่มมากขึ้นตามความลาดชันและ
                  ความยาวของพื้นที่ จากนั้นน้ าที่ไหลบ่าจะกัดเซาะผิวดินให้เป็นร่องเล็กและใหญ่ขึ้นเมื่อมีการกัดเซาะมากขึ้น
                  ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดินของจังหวัดเชียงราย ใช้สมการสูญเสียดินสากล (Universal Soil

                  Loss Equation : USLE) ของ Wischmeier & Smith (1978) ส าหรับวิเคราะห์ปริมาณดินที่สูญเสียจากการ
                  ชะล้างพังทลาย โดยมีรูปแบบของสมการ ดังนี้
                                                       A = RKLSCP

                              A คือ ปริมาณดินที่สูญเสียที่ค านวณได้ต่อพื้นที่ (ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี)
                              R คือ ค่าปัจจัยของน้ าฝนและการไหลบ่า (rainfall and runoff erosivity factor) ซึ่ง
                  สามารถอธิบายได้จากค่าความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวหน้าดินกับปริมาณความ
                  หนาแน่นของฝนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในที่นี้ใช้ข้อมูลปริมาณน้ าฝนเลลี่ยรายปี (Average annual rainfall)

                  มาใช้ในการวิเคราะห์
                              K คือ ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน (soil erodibility factor)
                  ซึ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันดินแต่ละชนิดจะทนต่อการชะล้างพังทลายได้แตกต่างกัน โดยจะเป็น
                  ผลมาจากสมบัติเลพาะของดินนั้นๆ สามารถวิเคราะห์ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดินนี้ จากภาพ

                  Nomograph โดยประเมินได้จากสมบัติของดิน 5 ประการคือ 1) ผลรวมปริมาณร้อยละดินของทรายแป้งและ
                  ปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก 2) ปริมาณร้อยละของทราย 3) ปริมาณร้อยละอินทรียวัตถุในดิน
                  4) โครงสร้างของดิน และ 5) การซาบซึมน้ าของดิน ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้ศึกษาปัจจัยดังกล่าวและ
                  ให้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดินสอดคล้องตามเนื้อดินบนของแต่ละพื้นที่ คือ บริเวณที่สูงและ

                  บริเวณที่ลุ่มต่ า ซึ่งในการประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่า K ตามเนื้อดินบนในภาคเหนือ
                              LS คือ ค่าปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (slope length and slope steepness
                  factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลาดชันและความยาวของความลาดชัน ตามปกติแล้วค่าการชะล้าง

                  พังทลายของดินนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อความลาดชันสูงขึ้นและเมื่อความยาวของความลาดชันลดลง ซึ่งในการ
                  ประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่าปัจจัยรวมของความลาดชันและความยาวของความลาด
                  ชันตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545)
                              C คือ ค่าปัจจัยการจัดการพืช (cropping management factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
                  กับพืชคลุมดิน ซึ่งพืชแต่ละชนิดย่อมมีความต้านทานในการชะล้างพังทลายของดินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ

                  ความสูงของต้น ลักษณะพุ่ม หรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้นๆ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีพืชปกคลุมดิน
                  ปัจจัยนี้จะมีค่าเท่ากับหนึ่ง ส่วนกรณีที่พืชปกคลุมดินสามารถต้านทานการชะล้างพังทลายของดินได้ดีขึ้น
                  ส่งผลให้วิธีการปลูกพืชทุกชนิดจะให้ค่าปัจจัยนี้น้อยกว่าหนึ่ง นอกจากนี้แล้วปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ

                  พืชนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆอีกด้วย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศนั้นมีผลต่อการ
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69