Page 59 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 59

3-3





                            ซึ่งการวิเคราะห์นโยบาย และยุทธศาสตร์ เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงรายนั้น

                  จะวิเคราะห์บนพื้นฐานหลักการ“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”ตามได้กล่าวไว้ในหัวข้อ 3.1 นอกจากนี้
                  ยังวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนในการ
                  จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบที่ส าคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของทุกภาค

                  ส่วน ความโปร่งใส เป็นธรรม ในกระบวนการตัดสินใจ หลักการอนุรักษ์ดินและน  า (Soil and Water
                  Conservation) เป็นหลักการใช้ทรัพยากรดิน และน้ าอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการที่ชาญลลาด คุ้มค่า
                  เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความยั่งยืน การน ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ ามาใช้เพื่อป้องกันและรักษาดิน
                  ไม่ให้ถูกชะล้างพังทลาย ทั้งบนพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ าจนถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หลักการบริหาร
                  จัดการเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Approach) โดยค านึงถึงการบูรณาการด้านการจัดการที่ดิน

                  น้ า และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณนั้น ให้เกิดความสมดุลในด้านการอนุรักษ์ มีการน าทรัพยากรมาใช้อย่าง
                  ยั่งยืน หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่มุ่งเน้นการค านึงถึงขีดจ ากัดของ
                  ทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักการพัฒนา

                  ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง (Human - Centered Development) ซึ่งเป็นหลักการพัฒนาโดยใช้ “คน”
                  เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ด้วยการบูรณาการให้เกิดองค์รวม มีดุลยภาพทั้งมิติด้านสิ่งแวดล้อมและมิติ
                  ด้านเศรษฐกิจ มีความสมดุล ระหว่างคน ธรรมชาติ และสรรพสิ่ง ที่เกื้อกูลกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาที่
                  ยั่งยืนอย่างแท้จริง หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Participation) ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ที่

                  เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมแสดงความคิด ร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วม
                  กระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่น าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
                  และหลักภูมิสังคม (Geosocial) ที่เน้นการพัฒนาตามสภาพตามความเป็นจริงของภูมิประเทศ ทั้งในด้าน
                  พื้นที่ดิน ด้านสังคมวิทยา และด้านวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวกับนิสัยใจคอและอัธยาศัย

                  ของคนในพื้นที่ โดยค านึงถึงความพร้อมของทุกคนในสังคม ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันและพลังในการร่วมกันคิด
                  ร่วมกันท าในสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นปัญหาและจะต้องพัฒนาให้ก่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมในสังคม
                  (แผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 – 2564)
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64