Page 18 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 18

2-4




                            สถูปดอยช้างมูบและสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุ

                  ดอยตุงบ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดของดอย
                  ตุง มีพระสถูปช้างมูบ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้อนหินขนาดใหญ่ มีลักษณะเหมือนช้างหมอบ

                        3.5  อ าเภอแม่สาย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110
                  เป็นอ าเภอเหนือสุดของประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า โดยมีแม่น้ าแม่สายเป็น
                  พรมแดนมีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้

                  โดยเสรี
                            พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 17.5 บนทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่
                  บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า น ามาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้ง

                  แรกทีพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรม
                  สารีริกธาตุนี้ได้ท าธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหาก
                  ปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะก าหนดเป็นฐานพระสถูป
                            พระธาตุดอยเวา หมู่ที่ 1 ต าบลแม่สาย บนดอยริมฝั่งแม่น้ าแม่สาย ตามประวัติกล่าว

                  ว่า พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ .ศ.
                  364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง
                            ถ้ าผาจม หมู่ที่ 1 ต าบลแม่สาย อยู่ห่างจากอ าเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5
                  กิโลเมตร ถ้ าผาจมตั้งอยู่บนดอยอีกลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ าสาย เคยเป็น

                  สถานที่ ซึ่งพระภิกษุสงฆ์นั่งบ าเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต                                                                        2-4
                            ถ้ าปุ่ม ถ้ าปลา ถ้ าเสาหินพญานาค ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ที่ 11 ต าบลโป่งผา ห่างจาก
                  อ าเภอแม่สายไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีก
                  ประมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงประกอบด้วย ถ้ าหินงอก หินย้อย และทางน้ าไหล

                  มากมาย

                        3.6  อ าเภอเชียงแสน เป็นอ าเภอเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ าโขง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ
                  60 กิโลเมตร เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อ “เวียงหิรัญนครเงินยาง”
                  ปัจจุบันยังมีซากก าแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง
                            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณ

                  เมืองโบราณเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึกจาก
                  เชียงแสนและจากจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี การตั้งถิ่น
                  ฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน

                            พระธาตุเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้า
                  แสนภู เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบ
                  ล้านนา เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน
                            วัดพระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตก าแพงเมือง เจ้าทองงั่ว ราชโอรสพระเจ้าติโลก
                  ราชเป็นผู้สร้างเมื่อ พ .ศ. 2032 ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง (1,200 กิโลกรัม ) ขนาน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23