Page 15 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 15

บทที่ 2


                                                      ข้อมูลทั่วไป



                  2.1  ประวัติและเอกลักษณ์

                      1. ความเป็นมา การตั้งถิ่นฐาน ชื่อเดิม ความส าคัญทางประวัติศาสตร์ เกียรติภูมิ

                        จังหวัดเชียงรายมีต านานพื้นเมือง และเรื่องราวเกี่ยวด้วยเรื่องการตั้งอาณาจักรต่าง ๆ ที่เป็น

                  ดินแดนของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันนั้นได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือ เป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน
                  ตัวหนังสืออักษรธรรมล้านนา ต านานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า ต านานโยนก
                  นครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสง เช่น ต านานสิงหนวัติ เป็นต้น แต่ละเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโยนก
                  ทั้งสิ้น จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพงสาวดารโยนก อีกประการหนึ่งจะเกี่ยวพันกับอาณาจักรโบราณต่าง ๆ

                  อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันเมื่อพญามังราย ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขต
                  รอบ ๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ เมือง
                  ลาวกู่เต้า และหมอควาญได้น าช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออกและ

                  พลัดหายไปพญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ ากกนัทธี ได้ทัศนาการเห็นภูมิ
                  ประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอา
                  ดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า “เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังราย
                  ผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้น ารูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่
                  เย็นเป็นสุขบนพื้นสีม่วงของวันเสาร์ ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญามังรายเป็นสีประจ าจังหวัด


                      2. ค าขวัญจังหวัด
                          เหนือสุดในสยาม        ชายแดนสามแผ่นดิน

                          ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา   ล้ าค่าพระธาตุดอยตุง

                      3. สถานที่ส าคัญของจังหวัด

                        3.1  อ าเภอเมืองเชียงราย
                            อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุน พ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่
                  25 แห่งราชวงศ์ลัวะจังคราช

                            กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้าวัดงาเมือง บนดอยงาเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์ส าคัญแห่ง
                  หนึ่งเพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช
                            วัดพระสิงห์ ถนนท่าหลวง ใกล้ศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
                  องค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารลายคา วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน

                            วัดพระแก้ว ถนนไตรรัตน์ ต าบลเวียง เป็นวัดที่ค้นพบพระแก้วมรกต หรือพระพุทธ
                  มหามณีรัตนปฏิมากรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
                            วัดพระธาตุดอยทอง ถนนอาจอ านวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่ง

                  แม่น้ ากก
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20