Page 17 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 17

2-5


                           (5.5)  ถ้ําขมิ้น อยูในอุทยานแหงชาติใตรมเย็น เขตเทศบาลตําบลนาสาร อําเภอบานนาสาร
               เปนถ้ําขนาดใหญโตมีหินงอกหินยอยสวยงาม และเปนที่ศึกษาวิจัยทางดานโบราณคดี ศาสนา ธรณีวิทยา

               และสัตววิทยา
                     2.1.3 ประเพณีและวัฒนธรรม
                         (1) ประเพณีชักพระ ทอดผาปา และแขงขันเรือยาว หรืองานเดือนสิบเอ็ด ตรงกับเทศกาล
               ออกพรรษา กิจกรรมที่สําคัญ ไดแก การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งรถพนมพระ และเรือพนมพระ  แขงขัน

               เรือยาว
                         (2) การจัดพุมผาปา เปนการจําลองพุทธประวัติของพระพุทธเจา แสดงออกเปนตอนๆ
               ดวยการนําตนไมหรือกิ่งไมประดับกับหลอดไฟสีตางๆ มีการจัดอุปกรณอื่นรวมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ
               ปนรูปดินเหนียว เพื่อในเชาวันรุงขึ้นของวันออกพรรษาจะไดนิมนตพระมาทําพิธีทอดผาปา

                         (3) งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณตนเดือนสิงหาคมของทุกป เนื่องจากเงาะโรงเรียน
               เปนผลไมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎรธานี มีความแตกตางจากเงาะที่อื่น คือ หวานและกรอบ นับเปน
               ความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดสุราษฎรธานี เพื่อเปนการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกลาว จังหวัดสุราษฎรธานี
               จึงจัดใหมีงานวันเงาะโรงเรียน เพื่อนําเงาะโรงเรียนและผลไมอื่นๆ มาจําหนาย
                     2.1.4 เอกลักษณประจําจังหวัด

                         ตราประจําจังหวัด: พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู ณ วัดพระบรมธาตุไชยา
               ราชวรวิหาร โดยสรางขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14

                         ตนไมประจําจังหวัด:   ตนเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)
                         ดอกไมประจําจังหวัด:   ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii)
                         สัตวนํ้าประจําจังหวัด:   ปลาตะพัดเขียว (Scleropages formosus)
                         ธงประจําจังหวัด: คือ มี 2 แถบสี ได แถบบนสีแสด แถบลางสีเหลือง และมีตราประจําจังหวัด
               กลางผืนธง

                         ตัวอักษรยอของชื่อจังหวัด: สฎ
                         ลักษณะรูปรางของจังหวัด: ลักษณะรูปรางของจังหวัดมีรูปรางลักษณะคลายกับ "ผีเสื้อที่กําลัง
               กางปกโบยบินอยู"
                     2.1.5 เศรษฐกิจที่สําคัญ

                         (1) ประชากรในจังหวัดสุราษฎรธานีมีรายไดตอหัวเฉลี่ย 162,329  บาท ตอป โดยสวนมาก
               ประกอบอาชีพทางการเกษตร เชน ทํานา ทําสวน ทําไร โดยใชที่ดินเพื่อทําการเพาะปลูกประมาณ

               รอยละ 45 ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด พืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ไดแก ยางพารา ปาลมน้ํามัน มะพราว เงาะ ทุเรียน
               มังคุด และกาแฟ นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตวและการทําประมง โดยปศุสัตวที่นิยมเลี้ยงกันมาก เชน โค
               กระบือ สุกร ไก แพะ โดยปศุสัตวที่มีมูลคาผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร ไก กระบือ และเปด ตามลําดับ
                         (2) อุตสาหกรรมสวนใหญของจังหวัดสุราษฎรธานี เปนอุตสาหกรรมที่ตอเนื่องจากผลผลิต

               ทางเกษตรกรรม เชน อุตสาหกรรมปลาปน อาหารทะเลแชแข็ง อาหารทะเลกระปอง น้ํามันปาลมดิบ
               อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจํานวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730  โรงงาน
               สวนใหญตั้งอยูในเขตอําเภอเมืองสุราษฎรธานีมากที่สุด  (20  โรง) นอกจากนี้ ยังมีการใหสัมปทานเหมืองแร
               โดยแรที่สําคัญในจังหวัด ไดแก ยิปซัม โดโลไมต แอนไฮโดรต หินปูน ดินขาว และบอลเคลย
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22