Page 97 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 97

5-19





                          1.4  เขตแหล่งน้่า ครอบคลุมเนื้อที่ 8,834 ไร่ หรือร้อยละ 3.39 ของเนื้อที่จังหวัด

                  แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อย ได้แก่ 1) เขตแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ครอบคลุมเนื้อที่ 8,749 ไร่ หรือร้อยละ 3.36
                  ของเนื้อที่จังหวัด และ 2) เขตแหล่งน้ าที่มนุษย์สร้างขึ้น ครอบคลุมเนื้อที่ 86 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่
                  จังหวัด

                          1.5  เขตพื้นที่อื่นๆ ครอบคลุมเนื้อที่ 863 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของเนื้อที่จังหวัด ซึ่งจากการ
                  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่าเขตพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่

                  ป่าไม้ และ เขตเกษตรกรรม ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม
                  ควรมีการเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้เป็นส าคัญ ซึ่งเป็นแหล่งก าเนิดของต้นน้ าล าธาร
                  ควบคู่ไปกับการด าเนินการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในพื้นที่

                  เขตเกษตรกรรม รวมถึงมีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรดินและน้ า เพื่อให้สามารถใช้ที่ดิน
                  เพื่อเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยการก าหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนมาตรการด าเนินงานใน
                  ภาพรวม เพื่อให้แนวทางการพัฒนาและการจัดการที่ก าหนดขึ้นสามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้
                  อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นดี โดยมาตรการที่ก าหนดขึ้น ได้แก่

                  มาตรการด้านบริหารจัดการ มาตรการด้านทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน มาตรการด้านทรัพยากรป่าไม้
                  มาตรการด้านทรัพยากรน้ า เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม บรรลุตามเป้าหมาย
                  ที่ก าหนดไว้
                        2. ข้อเสนอแนะ
                          2.1  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                              1) ตรากฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการบริหาร
                  จัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้องค์กรส่วนท้องถิ่นและชุมชนในจังหวัดมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการ
                  ยอมรับจากทุกภาคส่วน และสามารถน าไปบังคับใช้ได้จริง

                              2) จัดท าแผนบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ระดับต่างๆ จนถึงระดับพื้นที่ โดยเน้นการ
                  อนุรักษ์และการจัดการที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดท าแผน

                              3)  เร่งส ารวจและจัดท าแนวเขตที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐให้ถูกต้องชัดเจน
                  ไม่ทับซ้อนเขตที่ดินของชุมชนและภาคเอกชน และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ดินและแผนที่ในระบบ

                  สารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
                              4) พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดย

                  การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาชุมชนและนักวิชาการในท้องถิ่นมีส่วนร่วม
                              5) สร้างแหล่งกักเก็บน้ าในจังหวัดเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
                              6) สร้างบ่อบ าบัดน้ าเสียชุมชน และปลูกฝังจิตส านึกของประชาชนในการอนุรักษ์

                  แหล่งน้ า
                              7) ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยการรณรงค์การปลูกป่าชายเลนและปักไม้ไผ่เพื่อ

                  ชะลอคลื่น
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102