Page 96 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 96

5-18





                          4.3  คุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่รัฐได้ลงทุนจัดท า

                  โครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ไว้แล้ว เช่น ระบบชลประทาน ระบบคมนาคมและขนส่ง รวมทั้งพื้นที่
                  เพาะปลูกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

                          4.4   ก าหนดมาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ า ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และปรับปรุงฟื้นฟู
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเกษตรกรรม เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารอินทรีย์ชีวภาพ

                  ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร และปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรตามศักยภาพของพื้นที่และ
                  ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ แนวทางด าเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดินปี 2551

                          4.5   สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร
                  และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความสมัครใจและการมีส่วนรวมของเกษตรกร
                          4.6   ส่งเสริม และถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้เกษตรกรสามารถเพิ่มปริมาณ
                  และคุณภาพผลผลิตโดยการอบรม แนะน าความรู้ต่างๆ เช่น วิธีการปลูก การใส่ปุ๋ย การจัดการ การดูแล

                  รักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวให้มีความเหมาะสม
                          4.7  บริเวณที่เป็นดินเลนเค็มชายทะเล ไม่เหมาะส าหรับต่อการท าการเกษตร ควรปลูก
                  ป่าชายเลน และเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า และควรมีบ่อบ าบัดน้ าเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ าธรรมชาติ


                  5.3  สรุปและข้อเสนอแนะ

                        1. สรุป
                          แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการก าหนดเขตการใช้ที่ดินตามศักยภาพและก าลัง
                  ผลิตของพื้นที่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการใช้ที่ดิน

                  อย่างยั่งยืนและตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้แผนการใช้ที่ดินสามารถเป็นกรอบและแนวทางใน
                  การจัดท าแผนพัฒนาการเกษตรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งสามารถก าหนดเขต
                  การใช้ที่ดินของจังหวัดสมุทรสงคราม ออกเป็น 5 เขต ได้แก่
                          1.1   เขตพื้นที่ป่าไม้ ครอบคลุมเนื้อที่ 18,321 ไร่ หรือร้อยละ 7.03 ของเนื้อที่จังหวัด

                  ซึ่งแบ่งเป็น 1) เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีเนื้อที่ 9,432 ไร่ หรือร้อยละ 3.62 ของเนื้อที่จังหวัด
                  2) เขตคงสภาพป่านอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี มีเนื้อที่ 8,889 ไร่ หรือร้อยละ 3.41
                  ของเนื้อที่จังหวัด

                          1.2   เขตเกษตรกรรม ครอบคลุมเนื้อที่ 183,890 ไร่ หรือร้อยละ 70.61 ของเนื้อที่จังหวัด
                  แบ่งออกเป็น 5 เขตย่อย ได้แก่  1) เขตเกษตรกรรมชั้นดี ครอบคลุมเนื้อที่ 68,909 ไร่ หรือร้อยละ 26.46

                  ของเนื้อที่จังหวัด 2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง ครอบคลุมเนื้อที่ 42,208 ไร่ หรือร้อยละ
                  16.21 ของเนื้อที่จังหวัด 3) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ า ครอบคลุมเนื้อที่ 447 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 0.17 ของเนื้อที่จังหวัด 4) เขตปศุสัตว์ มีเนื้อที่ 428 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่จังหวัด และ
                  5) เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า มีเนื้อที่ 71,898 ไร่ หรือร้อยละ 27.61 ของเนื้อที่จังหวัด


                          1.3   เขตชุมชนและอุตสาหกรรม ครอบคลุมเนื้อที่ 48,534 ไร่ หรือร้อยละ 18.64 ของเนื้อที่
                  จังหวัด แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อย ได้แก่ 1) เขตชุมชน มีเนื้อที่ 36,170 ไร่ หรือร้อยละ 13.89 ของเนื้อที่
                  จังหวัด และ 2) เขตอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 12,364 ไร่ หรือร้อยละ 4.75 ของเนื้อที่จังหวัด
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101