Page 95 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 95

5-17





                          3.2   ใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการบริหารน้ า โดยการก าหนดพระราชบัญญัติ

                  ทรัพยากรน้ าหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ า การพัฒนาแหล่งน้ าและการควบคุม
                  การใช้น้ าให้สอดคล้องกันและก าหนดสิทธิหน้าที่ของผู้ใช้น้ าให้ชัดเจน
                          3.3  จัดท าทะเบียนแหล่งน้ า พื้นที่ชุ่มน้ าในระดับต าบล
                          3.4   พัฒนาปรับปรุงและอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ าอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ าต้นทุนใน

                  แหล่งน้ าที่มีศักยภาพในการกักเก็บให้มีปริมาณน้ าเพียงพอกับความต้องการและคุณภาพน้ าอยู่ในเกณฑ์ดี
                  สามารถใช้ได้อย่างยั่งยืน
                          3.5   ศึกษาศักยภาพของพื้นที่เพิ่มพื้นที่ชลประทานและประสิทธิภาพการกระจายน้ าของ
                  ระบบชลประทานตลอดจนสร้างแหล่งน้ าขนาดเล็กเพิ่มเติม เช่น บ่อน้ าในไร่นา เพื่อเพิ่มปริมาณการ
                  กักเก็บน้ า

                          3.6  ศึกษาความเป็นไปได้ในการน าน้ าใต้ดินมาใช้ในการเกษตร หรือเพื่อการอุปโภค บริโภค
                          3.7   ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแล

                  อนุรักษ์ บริหารจัดการทรัพยากรน้ าในพื้นที่ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ า พิจารณาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                  เพื่อให้การจัดสรรน้ ามีความเป็นธรรม สอดคล้องกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมการจัดการน้ าในแต่ละ
                  ท้องถิ่น

                          3.8  โครงการขุดลอกแหล่งน้ าธรรมชาติ เพื่อให้น้ าสามารถไหลผ่านได้สะดวกมากขึ้น
                  ไม่ก่อให้เกิดอุทกภัย และการขุดลอกแก้มลิง เพื่อเป็นการป้องกันน้ าท่วม และเป็นแหล่งกักเก็บน้ าในการ

                  อุปโภค บริโภค รวมถึงเก็บน้ าไว้ใช้เพื่อการเกษตรด้วย
                          3.9  ประสานกรมชลประทานปล่อยน้ าจากเขื่อน เพื่อผลักดันน้ าเค็มเมื่อเกิดภาวะน้ าทะเล

                  หนุนเข้าพื้นที่เพาะปลูก
                          3.10  สร้างแหล่งกักเก็บน้ าระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคทั้ง

                  ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว
                          3.11  ด าเนินการสร้างบ่อบ าบัดน้ าเสียชุมชน และส่งเสริมการปลูกจิตส านึกของประชาชนใน
                  การอนุรักษ์แหล่งน้ า ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม


                        4. มาตรการด้านทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน

                          4.1   ควรเร่งด าเนินการแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการ

                  ด าเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินท ากินถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงเป็นแนวป้องกันการ
                  บุกรุกขยายพื้นที่ท ากินเข้าไปในเขตพื้นที่ป่า
                          4.2  สนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อย มีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีสิทธิท ากินในที่ดิน โดยการ

                  ปรับปรุง กฎ ระเบียบที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการน าที่ดินมาใช้เพื่อการเกษตร เช่น พระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน
                  เพื่อเกษตรกรรม ปี 2524 เป็นต้น
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100