Page 163 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 163

5-3





                  ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการเกษตรเชิงรุกตามแผนที่โซนนิงภาค

                  การเกษตร
                                 4) ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดภาระทาง
                  การเงินการคลังของภาครัฐ โดยจัดให้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการเกษตร

                  ครบวงจรตั้งแต่การปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ พื้นที่เพาะปลูก ปุ๋ย เครื่องจักรกลและ
                  อุปกรณ์การเกษตร แหล่งน้ า และระบบไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ลดภาระหนี้สินโดยให้เกษตรกรเข้าถึง
                  แหล่งเงินทุนในระบบที่มีต้นทุนต่ า การลดความเสี่ยงจากราคาพืชผลทางการเกษตร การพัฒนาทักษะ
                  อาชีพเสริมรายได้ รวมทั้งการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และการปรับเปลี่ยนการ
                  ผลิตให้เหมาะสมกับฐานทรัพยากรในพื้นที่และความต้องการของตลาด น าระบบสารข้อมูลสารสนเทศ

                  การเกษตร ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการจัดการเขตพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) และส่งเสริมกลไก
                  อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน รวมทั้งระบบการบริหารจัดการเชิงรุกมาใช้ในการบริหารจัดการการผลิต
                  สินค้าการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่

                                 5) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต
                  ให้กับเกษตรกร โดยใช้ประโยชน์จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ การลด ละ เลิก ใช้ยาปราบ
                  ศัตรูพืชโดยเร็ว โดยต้องจัดหาสารทดแทนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร การ
                  ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางเศรษฐกิจ อาทิ เกษตรอินทรีย์ เกษตร

                  อัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ และเกษตรแปรรูป เพื่อต่อยอดสู่เกษตรอุตสาหกรรม
                  ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งส่งเสริม
                  การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย
                                 6) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงบ ารุงดินโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นหลัก

                  รณรงค์ให้มีการใช้ปุ๋ยหมักน้ าหมักชีวภาพ พด.2 พืชปุ๋ยสดรวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
                  โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชขวางความลาดเท ปลูกพืชสลับกับแนวหญ้าแฝก และเพิ่มมาตรการ
                  อื่นๆ ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรอย่างครบวงจร โดย
                  เน้นในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินที่จ าเป็นต้องเพิ่มมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม

                                 7) ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้ และให้
                  ความรู้ในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการปลูก บ ารุงรักษา ดูแล และการ
                  แปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในอีกทางหนึ่ง

                                 8) ส่งเสริมการท าปศุสัตว์ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการส่งเสริมการตลาด วิจัย
                  และพัฒนาพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจและสัตว์พื้นบ้าน อาทิ โคเนื้อ แพะ และแกะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนา
                  มาตรฐานการผลิตและคุณภาพการผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสอดคล้องกับความ
                  ต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
                  ไปสู่ตลาดโลก

                                 9) ฟื้นฟูและสนับสนุนอาชีพการท าประมงให้เกิดความยั่งยืน บนพื้นฐานของการรักษา
                  ทรัพยากรทางการประมงและทรัพยากรทางทะเล ให้มีความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขีด
                  ความสามารถการท าประมงอย่างถูกต้องในกลุ่มประมงพื้นบ้านและเชิงพาณิชย์ การเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อ

                  เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้และลดต้นทุนการท าประมง ลดอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ส่งเสริม
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168