Page 162 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 162

5-2





                                2) ในระยะยาวผลักดันให้การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง

                  เพราะการจัดหาที่ดินท ากินให้แก่เกษตรกรด้วยการปฏิรูปที่ดินถือว่าเป็นแนวทางส าคัญที่จะแก้ปัญหา
                  เกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน
                                 3) ควรศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น บริเวณที่มี

                  ความลาดชันสูงเพื่อจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และใช้เป็นฐานข้อมูลด้าน
                  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดิน
                                 4) ส่งเสริมสนับสนุนบทบาทองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและประชาชนให้มีส่วนร่วมใน
                  การจัดการป่าไม้ในรูปของป่าชุมชน
                                 5) เร่งด าเนินการปลูกป่าทดแทนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ าล าธาร

                                 6) ด าเนินการตามมาตรการรักษาพื้นที่ป่าให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่
                  อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวกันชนเพื่อการรักษาพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
                                 7) มาตรการหรือแนวทางการจัดการทรัพยากรของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ควร

                  ก าหนดให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางด าเนินการของคณะกรรมการลุ่มน้ าและ
                  คณะกรรมการทรัพยากรน้ าแห่งชาติ (กนช.) เพื่อให้เกิดการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ าแบบ
                  บูรณาการ
                                 8) พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  โดยการส่งเสริมการวิจัย การพัฒนาชุมชน และนักวิชาการในท้องถิ่น

                         5.2.2  พื้นที่เกษตรกรรม
                                การด าเนินการจัดการหรือพัฒนาพื้นที่มีความจ าเป็นต้องจัดการแบบผสมผสาน และ
                  ต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ทั้งการจัดการทรัพยากรดิน น้ า และ
                  ป่าไม้ ต้องประสานสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นต้นน้ าเนินเขาจนถึงที่ราบ และการใช้ที่ดิน

                  ประเภทต่างๆ ให้รองรับและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ รองรับ
                  เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติดังนี้
                                 1) ปรับเปลี่ยนระบบผลิตทางการเกษตรตามศักยภาพพื้นที่และความเหมาะสมทาง

                  เศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทาง
                  การเกษตรให้สูงขึ้น ตามแนวทางจากพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 เนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่
                  เกษตรกรรมของไทยประสบปัญหาความเสื่อมโทรมขาดการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
                                2) ปรับปรุงและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเกษตรกรรมแนวทางด าเนินการ
                  ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของดินรวมทั้งเป็นการ

                  เพิ่มผลผลิตการเกษตรให้สูงขึ้นเพราะในสภาวการณ์ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมของไทยประสบปัญหา
                  ความเสื่อมโทรมของดินเพราะขาดการอนุรักษ์ดินและน้ าท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินตลอดจน
                  ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว

                                 3) ควรส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้เกษตรกรด าเนินการผลิตตาม
                  ระบบเกษตรที่ดีโดยการอบรมแนะน าความรู้ต่างๆ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า
                  เกษตร (ศพก.) เช่น วิธีการปลูกการใส่ปุ๋ยการจัดการการดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการ
                  เก็บเกี่ยวให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ในเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจอย่างครบวงจรและให้ความรู้
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167