Page 161 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 161

บทที่ 5

                                                 สรุปและข้อเสนอแนะ




                  5.1 สรุป

                         การจัดท าแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่เป็นการก าหนดเขตโดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ
                  ของพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ทรัพยากรดินตามศักยภาพของพื้นที่ตลอดจนความเหมาะสม
                  ในการเพาะปลูก และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                  รวมถึงพื้นที่ภายใต้ข้อก าหนดที่ต้องสงวนพื้นที่ไว้เพื่อการอนุรักษ์ ดังนั้นการน าแผนการใช้ที่ดินไปสู่การ

                  ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่จึงควรน าแผนการใช้
                  ที่ดินดังกล่าวไปพิจารณาและร่วมด าเนินการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความสอดคล้องกันทั้ง
                  ระบบเพื่อการบริหารการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังช่วย

                  ลดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ โดยเขตที่ควรเร่งด าเนินการพัฒนาพื้นที่เป็น
                  อันดับต้นๆ ได้แก่ เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิตสูง เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่
                  ที่มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกปานกลางถึงสูง และเป็นบริเวณที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเพิ่ม
                  ปริมาณและคุณภาพผลผลิตได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรประสานงานเพื่อจัดหาแหล่งน้ าเพื่อ
                  การเกษตร และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต

                  และลดต้นทุนการผลิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                         จากการจัดท าแผนการใช้ที่ดิน จังหวัดสกลนคร สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินตามข้อก าหนด
                  การใช้ที่ดินตามกฎหมายและความเหมาะสมของที่ดินตามศักยภาพของพื้นที่ได้เป็น 6 เขต ดังนี้

                         1) เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายและป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี เนื้อที่ 844,829 ไร่ หรือร้อยละ
                  14.06 ของเนื้อที่จังหวัด
                         2) เขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เนื้อที่ 3,808,844 ไร่ หรือร้อยละ 63.45 ของเนื้อที่จังหวัด
                         3) เขตพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 338,499 ไร่ หรือร้อยละ 5.63 ของเนื้อที่จังหวัด

                         4) เขตอุตสาหกรรม เนื้อที่ 13,736 ไร่ หรือร้อยละ 0.23 ของเนื้อที่จังหวัด
                         5) เขตแหล่งน้ า เนื้อที่ 303,390 ไร่ หรือร้อยละ 5.06 ของเนื้อที่จังหวัด
                         6) เขตคงสภาพป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย พื้นที่ป่าไม้ตากฎหมายและป่าไม้ตามมติ
                  คณะรัฐมนตรี เนื้อที่ 694,304ไร่ หรือร้อยละ 11.57 ของเนื้อที่จังหวัด


                  5.2 ข้อเสนอแนะ

                         5.2.1  พื้นที่ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
                                 1) เร่งรัดให้ด าเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย เช่น พื้นที่มี
                  สภาพเป็นป่ารอสภาพฟื้นฟู (ป่าเสื่อมโทรม) ในเขตป่าเศรษฐกิจ ซึ่งกรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ดังกล่าวให้
                  ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อเร่งรัดด าเนินการตามแนวทางที่ก าหนดไว้ตาม

                  เงื่อนไขในการใช้ที่ดิน ในบริเวณดังกล่าว
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166