Page 110 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 110

5-6





                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                (1) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา
                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลด
                  ความเสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง

                                (2) คัดเลือกข้าวพันธุ์ดี และมีราคาสูงในการเพาะปลูก
                                (3) ควรปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด
                  หรือไถกลบตอซัง เพื่อเพิ่มความสามารถการดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ของดิน ร่วมกับการใช้
                  ปุ๋ยเคมี
                                (4) ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการใช้ที่ดินในรูปแบบเกษตรผสมผสาน

                  ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ และเกษตรพอเพียง โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น
                  และนาข้าวร่วมกัน

                              2) เขตปลูกพืชไร่ มีเนื้อที่ 419 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่
                  ส่วนใหญ่เป็นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วน เป็นดินลึก

                  ถึงลึกมาก มีการระบายน้ าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง มีความเหมาะสมปานกลางส าหรับ
                  การปลูกพืชไร่ สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันส าปะหลัง และ
                  สับปะรด พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่ที่อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ส่วนใหญ่
                  พบในบางพื้นที่ของอ าเภอกระบุรีของจังหวัดระนอง

                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ควรมีการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ
                  เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร และปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
                                (2) ควรเร่งพัฒนาระบบชลประทานเพื่อปรับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินจาก

                  การปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผัก
                                (3) ควรท าการเพาะปลูกพืชในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะส าหรับพืช
                                (4) ด าเนินการพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กในพื้นที่เขตนี้ รวมทั้งการปรับปรุง

                  ประสิทธิภาพแหล่งน้ าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ล าคลองสาธารณะ ให้มีการกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น
                              3)  เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 25,232 ไร่ หรือร้อยละ 1.22 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่

                  ในเขตนี้ที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดชัน มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วน
                  ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินร่วนปนทรายแป้ง เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ าดีถึง
                  ดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง มีความเหมาะสมระดับปานกลางส าหรับการปลูก

                  ไม้ผล บางบริเวณเป็นที่ลุ่มซึ่งมีการจัดการพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาน้ าท่วม เช่น การท า
                  คันดิน การยกร่อง และการพูนโคน เป็นต้น สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ลองกอง
                  มะม่วงหิมพานต์ มังคุด และทุเรียน ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในทุกอ าเภอของจังหวัด และพบมากใน
                  เขตอ าเภอเมืองระนอง และอ าเภอสุขส าราญ จังหวัดระนอง
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115