Page 44 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 44

2-32





                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความ

                  มั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนศึกษาความเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็น
                  มาตรการเชิงบังคับ ขยายผลแนวคิดการท าเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนให้มี
                  กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและผลักดันสู่กระบวนการท าเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

                        5. นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 – 2579)
                   มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องดังนี้

                           ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                  มีกลยุทธ์หลักได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์

                  สูงสุด โดยมุ่งเน้นการวางแผนก าหนดเป้าหมาย และสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ ให้มี
                  ความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ ตามศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้ง
                  ประเทศ การจัดให้มีการวางผังเมืองในทุกระดับ โดยให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและ

                  บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ การก าหนดเขตและ
                  มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งในระดับประเทศ ระดับลุ่มน้ าและระดับจังหวัด ให้มีความสัมพันธ์

                  และสอดคล้องกัน การก ากับ ควบคุมการถือครองที่ดินของประเทศ ให้มีการกระจายการถือครองที่ดิน
                  อย่างเป็นธรรม ขอคืนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อน ามาใช้ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งป้องกันการถือ

                  ครองที่ดิน ของคนต่างชาติ และนิติบุคคลต่างด้าว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และการส่งเสริม สนับสนุน
                  ให้มีการน าที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

                  และท่องถิ่น เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยใช้กลไกประชารัฐ 2) การเสริมสร้างฐานการผลิตภาค
                  เกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมุ่งเน้นการก าหนดพื้นที่
                  เกษตรกรรม (Zoning) โดยการวางผัง จัดรูปที่ดิน จัดระบบชลประทาน จัดสร้างถนนหรือทางล าเลียงใน

                  ไร่นา ปรับระดับพื้นที่ บ ารุงดิน วางแผนการผลิต และจ าหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่มีความเหมาะสม
                  กับสภาพของแต่ละพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรม ในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุน

                  โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตร เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริม สนับสนุน การ
                  ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยว ไปสู่รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                  เกื้อกูลกับระบบนิเวศและสอดคล้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ า การฟื้นฟู ปรับปรุง คุณภาพดินที่เสื่อม
                  โทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ และแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยใน

                  การท าการเกษตร และเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ
                  และขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นฐานการผลิตการเกษตรที่
                  ยั่งยืน และการสร้างกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินเกษตรกรรม เพื่อรักษาฐาน

                  การผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน และ 3) การเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินต่อผลกระทบและภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่

                  ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการคาดการณ์ และประเมินผล
                  กระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ดินหรือทรัพยากรดินจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภัยธรรมชาติ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49