Page 41 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 41

2-29





                        4. ระบบนิเวศน์


                        จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศด้านตะวันออกเป็น
                  เทือกเขาสูง มีที่ราบลุ่มแม่น้ าเนื่องจากมีแม่น้ าไหลผ่านหลายสายสามารถพบระบบนิเวศภูเขาในพื้นที่
                  ที่มีความสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง เช่น เขาแคในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลง
                  หลวง ภูหมันขาวและภูลมโล ในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และภูเมี่ยง-ภูทองในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
                  ภูเมี่ยง-ภูทอง ส่วนระบบนิเวศป่าไม้ ส่วนใหญ่ป่าเบญจพรรณผสมป่าดิบแล้ง พบสังคมพืชหลากหลาย

                  รูปแบบได้แก่ สังคมพืชป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบเขา และป่าสนเขา เป็นต้น ระบบนิเวศเกษตรนั้น
                  ในปี 2552 จังหวัดพิษณุโลกมีครัวเรือนภาคเกษตรคิดเป็นร้อยละ 26.24 ของครัวเรือนทั้งจังหวัด ส่วน
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น พบว่ามีพื้นที่ท าการเกษตรร้อยละ 35.57 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือ 2,404,936 ไร่

                  สามารถจ าแนกเป็นพื้นที่นา ร้อยละ 60.39 ของพื้นที่ท าการเกษตรทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่ท าไร่
                  ร้อยละ 26.07 และพื้นที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ร้อยละ 6.95 ตามล าดับ การผลิตทางการเกษตรที่
                  ส าคัญ ได้แก่ พืชเศรษฐกิจของจังหวัด คือ ข้าว มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดร้อยละ 81 ของพื้นที่ท าการเกษตร
                  ทั้งหมด รองลงมาคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส าปะหลัง อ้อย และมะม่วง ตามล าดับ ปศุสัตว์ที่ส าคัญของ

                  จังหวัด ได้แก่ การเลี้ยงโคเนื้อ กระบือ สุกร และสัตว์ปีก ส่วนด้านประมงพบว่ามีอยู่ 2 ลักษณะ
                  คือ การจับสัตว์น้ าในแหล่งน้ าธรรมชาติ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ชนิดพันธุ์ปลาที่พบ เช่น ปลานิลแดง
                  ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาสวาย ปลาดุกอุย ปลาช่อน และปลาหมอไทย เป็นต้น ส่วนคุณภาพของน้ านั้นแม่น้ า
                  น่าน แม่น้ าแควน้อย และแม่น้ าวังทอง คุณภาพน้ าโดยรวมตลอดปีอยู่ในเกณฑ์พอใช้เทียบได้ตาม

                  มาตรฐานแหล่งน้ าผิวดินประเภทที่ 3 คือสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ าเพื่อการเกษตร การอุปโภค
                  บริโภคโดยผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ าทั่วไปก่อน ส่วนแม่น้ า
                  ยมมีคุณภาพน้ าโดยรวมตลอดปีอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม เทียบได้ตามมาตรฐานแหล่งน้ าผิวดินประเภท
                  ที่ 4 สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ าเพื่อการอุตสาหกรรม การอุปโภคและบริโภคโดยต้องท าการฆ่า

                  เชื้อและปรับปรุงคุณภาพน้ าเป็นพิเศษก่อน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46