Page 43 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 43

2-31





                        4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) มียุทธศาสตร์และแนว

                  ทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้น

                  การเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ซึ่งมีแนวทางการ
                  พัฒนาหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาภาคการเกษตร ด้วยการ 1) เสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตร
                  ให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยพัฒนาและบ ารุงรักษาแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรรวมทั้งจัดระบบการปลูกพืชให้

                  สอดคล้องปริมาณน้ าที่หาได้ และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพและขยายโอกาสในการเข้าถึง
                  พื้นที่ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น 2) สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์

                  เทคโนโลยี และนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม โดยให้ความส าคัญกับ
                  การพัฒนารูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อปรับระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                  และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดท าแปลง

                  ต้นแบบผ่านศูนย์เรียนรู้และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีในแต่ละพื้นที่ 3) เสริมสร้างขีดความสามารถการ
                  ผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร โดย ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์ และการท าประมงให้

                  สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด (Zoning) 4) ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิด
                  การท าการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วม

                  ในการก าหนดนโยบายการเกษตร รวมไปถึงการส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ
                  เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร

                  ธรรมชาติ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และ
                  5) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการบริหารจัดการภาคเกษตรและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการพัฒนา
                  ฐานข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานด้านการเกษตร สร้างบุคลากรด้านการเกษตร ด้วยการผลิตเกษตรกร

                  รุ่นใหม่หรือด าเนินนโยบายบัณฑิตคืนถิ่น การจัดท าหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติ
                  เพื่อสร้างเกษตรกรที่มีความรู้และมีความสามารถในการยกระดับการผลิต แปรรูปการตลาดและการ

                  บริหารจัดการที่สามารถปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และการปรับปรุงกฎหมายที่
                  เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้ทันสมัย

                           ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้น
                  การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรอย่าง
                  มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิต ซึ่งมี

                  แนวทางการพัฒนาหลัก คือการสนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรไปสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยสนับสนุน
                  การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตร
                  ผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุ
                  อินทรีย์และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีการเกษตร สนับสนุนงานวิจัยและจัดท าพื้นที่
                  ต้นแบบ เพื่อสาธิตการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุนและ

                  กลไกทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับรูปแบบการท าการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                  พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรที่เป็น
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48