Page 91 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 91

4-17





                  4.3   การวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้ DPSIR


                        การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา ได้วิเคราะห์เชิงระบบโดยใช้ระบบ DPSIR:

                  Drivers-Pressures-States-Impact-Responses (แรงขับเคลื่อน - ความกดดัน - สถานภาพทรัพยากร

                  - ผลกระทบ - การตอบสนอง)  ซึ่ง DPSIR ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในการวิเคราะห์ภาพรวมของผลกระทบ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีการใช้กันอย่าง

                  แพร่หลาย ทั้งนี้ กรอบแนวคิด DPSIR ของการก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา มีกรอบแนวคิดในการ
                  วิเคราะห์ คือ ปัจจัย (Drivers) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาด้านทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม เป็นตัว

                  ขับเคลื่อนในการสร้างความกดดัน (Pressure) ต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งทั้งปัจจัย

                  (Drivers) และความกดดัน (Pressure) ส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ (State) ของ
                  ทรัพยากรธรรมที่ดินและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบ (Impact) ในหลายๆด้าน

                  ซึ่งผลกระทบในแต่ละด้าน สามารถสะท้อนการตอบสนอง (Response) เชิงนโยบายหรือการบริหารการ
                  จัดการภาครัฐ เพื่อก าหนดนโยบายหรือมาตรการในการตอบสนองการแก้ปัญหา เพื่อลดผลกระทบ

                  ตลอดจนป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายรายละเอียดได้ ดังนี้

                        แรงขับเคลื่อน (D-Driver) เป็นสาเหตุของปัญหาหรือสถานการณ์ที่ก าลังวิเคราะห์ เป็นปัจจัยที่มี
                  พลังขับเคลื่อน สามารถส่งผลให้เกิดความกดดันต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการได้ ตัวอย่างของแรง

                  ขันเคลื่อนด้านทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายรัฐด้านการเกษตร การเพิ่มขึ้นของประชากร

                  ปัญหาการถือครองที่ดิน นโยบายรัฐในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การขยายตัวรองรับภาคเศรษฐกิจ การ
                  เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติธรรมชาติ ฯลฯ แรงขับเคลื่อน เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้เป็นปริมาณ หรือ

                  ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่าง เช่น การเติบโตของประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ

                  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นต้น
                        ความกดดัน (P-Pressure) คือผลที่ได้รับจากแรงขับเคลื่อน ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลหรือ

                  ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันของทรัพยากรดินและ
                  สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ความต้องการที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ความต้องการน้ าเพื่อการเกษตร

                  ความต้องการอาหาร การปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รักษาสมดุลของ

                  ระบบนิเวศของประเทศ การจัดสรรงบประมาณในการด าเนินการ เป็นต้น
                        สถานภาพ (S-State) คือสถานภาพหรือสถานการณ์ของทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมที่สนใจใช้

                  อธิบายสภาพหรือสถานะของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆทั้งจากภาวะ
                  กดดัน และการตอบสนอง  ตัวอย่างเช่น ที่ดินเพื่อการเกษตรลดลง ความเสื่อมโทรมของที่ดินเพื่อ

                  การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ลดลง การชะล้างพังทลายของดิน ดินถลม ภัยพิบัติทั้งอุทกภัยและภัยแลงเกิดขึ้น

                  บ่อยครั้ง เป็นต้น
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96