Page 102 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 102

4-8





                  4.2  การวิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่

                        ประเด็นที่ 1 ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงวิกฤตและ

                  ต่อเนื่อง ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล สร้างความเสียหายทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติทรัพยากร
                  การประมงชายฝั่ง และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและวิถีชีวิตของชุมชนและมี
                  ผลกระทบต่อความสวยงามของชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส าคัญสร้างความเสียหายต่อการ
                  ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวม
                        ประเด็นที่ 2 ปัญหาเส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดมีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว

                  ที่มีความหลากหลายทั้งทรัพยากรธรรมชาติ (ภูเขา สัตว์ปาาและพันธุ์พืช แม่น้ า ชายหาด ฯลฯ) สถานที่
                  ทางประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมและมีความพร้อมด้านบริการ โดยมีโครงการพระราชด าริมีความ

                  เป็นอัตลักษณ์มีสินค้า  OTOP  และกิจกรรมนันทนาการที่ภาคเอกชนได้ริเริ่มเป็นแหล่งผลิตสินค้า และ
                  อาหาร โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตรและมีความพร้อมในด้านการบริการการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม

                  ความเชื่อมโยงของระบบการท่องเที่ยวและพื้นที่เศรษฐกิจยังไม่ครบถ้วนเพียงพอ ระบบการเดินทาง
                  ระหว่างแหล่งท่องเที่ยวยังไม่ทั่วถึง และมีปัญหาการจราจรในช่วงวันหยุด หรือช่วงเทศกาล โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่งช่วงที่เชื่อมต่ออ าเภอชะอ า และอ าเภอหัวหิน ดังนั้นการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
                  จึงเป็นประเด็นส าคัญเร่งด่วนที่จะต้องด าเนินการ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลให้ความส าคัญ โดยมีการก าหนด
                  แผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก (The Royal Coast หรือ

                  Thailand  Riviera)  พ.ศ.2560-2564  ซึ่งมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวและเป็นสถานที่
                  ท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์

                        นอกจากนั้นเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้เป็นระบบเชื่อมโยงสู่การเปิดตัวของ AEC
                  ยังควรด าเนินการสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับองค์กรที่เกี่ยวกับการผลิตการค้า

                  และการท่องเที่ยว ณ จุดผ่านแดนไทย-เมียนมาร์ ในระยะเริ่มต้นก่อนแล้ว จึงขยายไปยังประเทศอื่น โดย
                  ด าเนินการให้เป็นรูปธรรมในลักษณะของการท า MOU

                        ประเด็นที่  3  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางการประมง เนื่องจากการท าการประมงที่
                  ผ่านมาเกินศักยภาพในการผลิตของธรรมชาติ และมีการท าลายแหล่งที่อยู่อาศัย/หลบภัย และเลี้ยงตัว
                  อ่อนของสัตว์น้ าส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ ามีปริมาณลดลง ชาวประมงไทยในปัจจุบันต้องเดินทางไปจับปลา
                  ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนั้นยังส่งผลต่อชาวประมงชายฝั่งที่จับสัตว์น้ าได้น้อยลง

                  แต่อย่างไรก็ตาม ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางการประมงเป็นทรัพยากรประเภทสามารถฟ้้นฟูได้
                  และวิธีที่ได้ด าเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การสร้างปะการังเทียม เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์
                  ทะเล ซึ่งการด าเนินงานที่ผ่านมายังไม่เพียงพอ จึงมีแผนงานการด าเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีผล
                  การศึกษาวิจัยที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์จากโครงการก่อสร้างปะการังเทียมดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะ

                  มีการเพิ่มการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ าจืด ซึ่งจะเป็นการฟ้้นฟูระบบนิเวศในระยะยาว รวมถึง
                  รูปแบบการอนุรักษ์สัตว์น้ าอื่นๆ ที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่และความต้องการของชาวประมงด้วย
                          ประเด็นที่  4  ด้านการผลิตสินค้าการเกษตรที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน จังหวัดมีศักยภาพใน

                  การผลิตสินค้าด้านการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นรายได้หลักของจังหวัด และเป็นอาชีพหลักของ
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107