Page 98 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 98

4-4





                  ได้รับผลกระทบและภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเกิด

                  ภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
                              ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน มีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) พัฒนา
                  เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นธรรม

                  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและ
                  ทรัพยากรดิน รวมทั้งผลักดันให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการน าเทคโนโลยี
                  นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดิน การเร่งรัด พัฒนาระบบ
                  ฐานข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดิน การจัดท าแผนที่ก าหนดแนวเขต ที่ดินของรัฐ โดยมีกฎหมายรองรับ มี
                  มาตรการทางการเงิน การคลัง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์

                  สูงสุดและเป็นธรรม และ 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน โดย
                  มุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนศึกษาวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน โดยมีแผนงานการ
                  วิจัยที่เป็นระบบ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันผลงานการวิจัยไปสู่

                  การปฏิบัติ และการพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ทั้งใน
                  ประเทศและระหว่างประเทศ

                        6) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน
                          วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2
                           “เป็นฐานการผลิตภาคการเกษตรและอาหารปลอดภัยอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อ

                  สิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวชั้นนาเชิงธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า”
                          กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงและหลากหลาย ทั้งด้านการ
                  ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม รวมไปถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งยังเดินทางไม่ไกลจาก
                  กรุงเทพฯ พื้นที่ในกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะเขตพื้นที่อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี และอ าเภอหัวหิน

                  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับความสนใจจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มาลงทุนท าธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
                  และอสังหาริมทรัพย์เป็นจ านวนมาก ท าให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ รวมไปถึงโครงการด้าน
                  อสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่ จึงเป็นอีกปัจจัยส าคัญที่จะ

                  ช่วยสนับสนุนให้กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง  2  มีความโดดเด่นและความน่าสนใจในเรื่องการ
                  ท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
                          และด้วยลักษณะภูมิประเทศของกลุ่มจังหวัดที่มีความหลากหลายของดิน และติดทะเลทุก
                  จังหวัดท าให้ลักษณะการเกษตรที่ส าคัญของกลุ่มจังหวัดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การเกษตร
                  เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ และการประมง โดยจากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภูมิภาค (Gross Regional

                  Product : GRP) ปี พ.ศ. 2559 พบว่า มูลค่าการผลิตภาคการเกษตร (การเกษตรกรรม ปาาไม้ และประมง)
                  คิดเป็นร้อยละ  8.70 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของกลุ่มจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี จังหวัด
                  สมุทรสงคราม และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีสัดส่วนมูลค่าการผลิตภาคเกษตร (การเกษตรกรรม ปาาไม้

                  และประมง) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103