Page 105 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 105

4-11





                            3) ด่านสิงขรยังไม่ได้รับการยกระดับเป็นด่านถาวร และยังมีข้อจ ากัดในมาตรการ ระเบียบ

                  กฎหมายที่ยังไม่เอื้ออ านวยให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างเทศเดินทางเข้าออก ระหว่าง 2 พื้นที่
                  ด่านสิงขรและเมืองมะริด ท าให้มูลค่าการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวยังเติบโตได้ไม่เต็มที่
                            4) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

                  ของประชาโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ท าให้สภาพทางสังคมและครอบครัวเปราะบางยิ่งขึ้น
                            5) ภัยคุกคามด้านการก่อการร้ายทั่วโลก ส่งผลต่อความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและ
                  ทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว


                  4.3  การวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้ DPSIR
                        การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้วิเคราะห์เชิงระบบโดยใช้

                  ระบบ DPSIR:  Drivers-Pressures-States-Impact-Responses  (แรงขับเคลื่อน - ความกดดัน -
                  สถานภาพทรัพยากร - ผลกระทบ - การตอบสนอง)   ซึ่ง DPSIR  ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในการวิเคราะห์

                  ภาพรวมของผลกระทบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมี
                  การใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ กรอบแนวคิด DPSIR ของการก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                  มีกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ คือ ปัจจัย (Drivers) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาด้านทรัพยากรดิน และ

                  สิ่งแวดล้อม เป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างความกดดัน (Pressure)  ต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการ
                  ซึ่งทั้งปัจจัย (Drivers) และความกดดัน (Pressure) ส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ (State)

                  ของทรัพยากรธรรมที่ดินและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบ  (Impact) ในหลายๆ ด้าน
                  ซึ่งผลกระทบในแต่ละด้าน สามารถสะท้อนการตอบสนอง (Response) เชิงนโยบายหรือการบริหาร

                  การจัดการภาครัฐ เพื่อก าหนดนโยบายหรือมาตรการในการตอบสนองการแก้ปัญหา เพื่อลดผลกระทบ
                  ตลอดจนป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายรายละเอียดได้ ดังนี้

                        แรงขับเคลื่อน (D-Driver) เป็นสาเหตุของปัญหาหรือสถานการณ์ที่ก าลังวิเคราะห์ เป็นปัจจัยที่มี
                  พลังขับเคลื่อน สามารถส่งผลให้เกิดความกดดันต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการได้ ตัวอย่างของแรง
                  ขันเคลื่อนด้านทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายรัฐด้านการเกษตร การเพิ่มขึ้นของประชากร

                  ปัญหาการถือครองที่ดิน นโยบายรัฐในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การขยายตัวรองรับภาคเศรษฐกิจ การ
                  เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติธรรมชาติ ฯลฯ แรงขับเคลื่อน เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้เป็นปริมาณ หรือ

                  ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่าง เช่น การเติบโตของประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ
                  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นต้น

                        ความกดดัน (P-Pressure) คือผลที่ได้รับจากแรงขับเคลื่อน ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลหรือ
                  ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันของทรัพยากรดินและ

                  สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ความต้องการที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ความต้องการน้ าเพื่อการเกษตร
                  ความต้องการอาหาร การปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รักษาสมดุลของ
                  ระบบนิเวศของประเทศ การจัดสรรงบประมาณในการด าเนินการ เป็นต้น
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110