Page 178 - Land Use Plan of Thailand
P. 178

6-16





                        6.3.2  เขตเกษตรกรรม มีพื้นที่ 153,184,527 ไร่ หรือร้อยละ 47.77 ของพื้นที่ประเทศไทย

                  เพื่อรองรับเกษตรกรจ านวน 5.8 ล้านครัวเรือน รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้กับ
                  ประเทศ และส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ท าให้คนไทยมีความมั่นคงด้านอาหาร และมีรายได้เข้าสู่
                  ประเทศไทย โดยสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ด้วยความมั่นคงและยั่งยืน จึงได้ใช้ปัจจัยด้านความ

                  เหมาะสมของที่ดิน การพัฒนาระบบชลประทาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร ในการก าหนด
                  เขตพื้นที่ความเหมาะสมออกเป็น 3 เขต ดังนี้
                               1)  เขตเกษตรกรรมชั้นดี มีพื้นที่ 42,647,558 ไร่ หรือร้อยละ 13.30 ของพื้นที่ประเทศ
                  ไทย เป็นเขตที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองไว้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร
                  และผลิตสินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง หรือรองรับอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยรัฐใช้

                  ลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรกรรม เช่น โครงการชลประทาน โครงการป้องกันน้ าท่วม
                  หรือมีการจัดรูปที่ดิน รวมถึงพื้นที่ผลิตพืชที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใด
                  มาทดแทนการผลิตทางการเกษตร จากแหล่งผลิตของที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความพิเศษใน

                  การให้ผลผลิตที่มีคุณภาพนี้ได้ แบ่งออกเป็น 3 เขตย่อยดังนี้
                                   1.1) เขตพื้นที่ท านา มีพื้นที่ 22,327,130 ไร่ หรือร้อยละ 6.96 ของพื้นที่ประเทศไทย
                  เป็นเขตที่สภาพพื้นที่ราบเรียบเป็นที่ลุ่ม มีการสร้างระบบชลประทาน หรือมีการจัดรูปที่ดิน ท าให้สามารถท านา
                  ได้ผลผลิตสูง พื้นที่ส่วนใหญ่สามารถท านาได้มากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี ส่วนใหญ่ท าการผลิตข้าวเพื่อการค้าและ

                  ส่งออกเป็นหลัก มาตรการส าคัญในพื้นที่นี้ควรส่งเสริมให้มีการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เพื่อผลิตในเชิงการค้า
                                   1.2) เขตพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีพื้นที่ 17,690,527 ไร่ หรือร้อยละ 5.52
                  ของพื้นที่ประเทศไทย เป็นเขตที่มีระบบชลประทาน หรือมีการพัฒนาที่ดินที่สามารถท าการผลิตพืชไร่
                  ไม้ผลได้ผลผลิตดี สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน การระบายน้ าดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ส่วนใหญ่มีการผลิต

                  สินค้าเกษตรเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูป และผลิตเพื่อการส่งออก มาตรการส าคัญในพื้นที่นี้ควรส่งเสริมให้
                  มีการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เพื่อผลิตในเชิงการค้า
                                   1.3) เขตพื้นที่พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรป มีพื้นที่
                  2,629,901 ไร่ หรือร้อยละ 0.82 ของพื้นที่ประเทศไทย พืชที่ผลิตสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้

                  รับรองการจดทะเบียนจากสหภาพยุโรป เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เนื่องจากมีคุณสมบัติ
                  พิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะที่เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า
                  อากาศ ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ ตลอดจนทักษะความช านาญและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ใน

                  แหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ ส าหรับพืชที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนคุ้มครองสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย
                  จากสหภาพยุโรปมี 4 ชนิดคือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (Khao Hom Mali Thung Kula Rong-Hai)
                  กาแฟดอยตุง (KafaeDoi Tung) กาแฟดอยช้าง (KafaeDoiChaang) และข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
                  (SangyodMuangPhatthalung Rice)
                                       (1) เขตพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทุ่งกุลาร้องไห้ มีพื้นที่ 1,973,196 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.62 ของพื้นที่ประเทศไทย ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (Thung Kula Rong-Hai Thai
                  Hom Mali Rice: TKR) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าว
                  หอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์กข15 มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ซึ่งปลูกในฤดูนาปี

                  บริเวณพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และยโสธร การท าการผลิต
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183