Page 43 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 43

บทที่ 3

                                       การวิเคราะห์เพื่อกำหนดเขตการใช้ที่ดิน



                  3.1  การวิเคราะห์และจัดทำหน่วยที่ดิน
                        จากการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจดินของกรมพัฒนาที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 (กองสำรวจดิน
                  และวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน, 2564) ข้อมูลพื้นที่นาข้าว (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน

                  กรมพัฒนาที่ดิน, 2565ก) ข้อมูลพื้นที่ชลประทาน (กรมชลประทาน, 2560) ข้อมูลผลวิเคราะห์ดิน
                  (Lab analysis) ของชุดดินในประเทศไทย (Soil series) (กองสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน, 2565)
                  และข้อมูลขอบเขตการปกครอง (กรมการปกครอง, 2556) เพื่อการจัดทำหน่วยที่ดิน และการวิเคราะห์

                  คุณภาพที่ดิน ลักษณะและสมบัติของดินและที่ดิน ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
                  ข้าวพันธุ์ กข43 ในประเทศไทย เช่น ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                  ในดินโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน ความลึกของดิน ความลึกที่พบชั้นกรวด ค่าความเป็นกรด
                  เป็นด่างของดิน ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC) ค่าอิ่มตัวเบส (BS) อัตราการไหลซึมผ่านของน้ำ
                  และสภาพพื้นที่ เป็นต้น

                        เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สามารถจัดทำหน่วยที่ดินของประเทศไทยได้ทั้งสิ้น 8,134
                                ่
                  หน่วยที่ดิน ได้แก หน่วยที่ดินในพื้นที่ลุ่ม 982 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 59,155,844 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.44
                  ของพื้นที่ ได้แก่ หน่วยที่ดินในพื้นที่ลุ่ม 537 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 39,329,430 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.26

                                        ื้
                       ื้
                  ของพนที่ หน่วยที่ดินในพนที่ลุ่มอยู่ในเขตชลประทาน 445 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 19,826,414 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 6.18 ของพนที่ หน่วยที่ดินในพนที่ดอน 7,132 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 150,228,285 ไร่
                                                         ื้
                                         ื้
                  คิดเป็นร้อยละ 46.85 ของพื้นที่ ได้แก่ หน่วยที่ดินในพื้นที่ดอน 3,125 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 115,590,097 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 36.05 ของพื้นที่ หน่วยที่ดินในพื้นที่ดอนอยู่ในเขตชลประทาน 1,142 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่
                  9,710,500 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.03 ของพื้นที่ หน่วยที่ดินในพื้นที่ดอนที่มีการทำคันนา (M3) 2,060
                  หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 22,528,323 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.02 ของพื้นที่ หน่วยที่ดินในพื้นที่ดอนที่มีการทำคันนา
                  และอยู่ในเขตชลประทาน (IM3) 805 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 2,399,365 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.75 ของพนที่
                                                                                                    ื้
                  และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 20 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 111,312,764 ไร่ หรือร้อยละ 34.71 ของพื้นที่ ประกอบด้วย

                  สนามบิน (AP) พนที่เลี้ยงสัตว์น้ำ (AQ) หาดทราย (BEACH) ดินตะกอนชะวากทะเลปะปนกัน (EC)
                                 ื้
                  หน้าผาชัน (ES) พื้นที่ป่าไม้ (F) สนามกอล์ฟ (GC) เกาะ (I) พื้นที่เขตทหาร (MA) พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ
                  (MARSH) ที่ดินดัดแปลง (ML) บ่อขุด (P) ท่าเรือ (Pier) ที่ดินหินพื้นโผล่ (RC) ที่ดินเต็มไปด้วยก้อนหิน (RL)
                  นาเกลือ (SALT) พื้นที่ปศุสัตว์ (FARM) สันดอนทราย (SAND BAR) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (SC)

                  พื้นที่ชุมชน (U) และพื้นที่น้ำ (W) (รายละเอียดดังตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3-1)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48