Page 39 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 39

2-27





                        2.6.2 การตลาด

                             ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของนาแปลงใหญ่ หรือ โครงการระบบส่งเสริม
                  การเกษตรแบบแปลงใหญ่ ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกร
                  ได้รวมกลุ่มกันผลิต และยกระดับให้เป็นสินค้าตลาดเฉพาะของกลุ่มคนรักสุขภาพ การผลิตข้าว

                    ื่
                  เพอสุขภาพ พันธุ์ กข43 ให้มีคุณภาพ ต้องมีการควบคุมการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการ
                  เพาะปลูกจนกระทั่งแปรรูป ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมการข้าวร่วมกับ
                  กรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่งเสริมการผลิตข้าวพันธุ์ กข 43 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานสนับสนุน
                  เรื่องพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข 43 คัดเลือกสหกรณ์ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวและสนใจเข้าร่วมโครงการ
                  ทำหน้าที่ดูแลและสนับสนุนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกปลูกข้าวพันธุ์ กข 43 ตามข้อกำหนด เริ่มตั้งแต่การ

                  ขึ้นทะเบียนสมาชิกผู้ปลูกข้าวพันธุ์ กข 43 การดูแลแปลงปลูกและควบคุมคุณภาพแปลงตามมาตรฐาน
                  GAP จนถึงขั้นตอนรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร และหากสหกรณ์ใดมีโรงสีข้าวที่ผ่านมาตรฐาน GMP
                  แล้ว ก็สามารถแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดได้ทันที แต่ถ้าสหกรณ์ยังไม่มีโรงสีก็สามารถที่จะ

                                             ื่
                  รวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกเพอส่งจำหน่ายให้กับโรงสีเอกชนต่อไป ในส่วนของกรมการข้าว จะเข้ามา
                  ช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนคัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และแปลงผลิตข้าวของเกษตรกร
                  การตรวจรับรองระบบมาตรฐาน GAP และสำหรับการขยายช่องทางการจำหน่ายข้าวพันธุ์ กข 43
                  ภายในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการ

                  วางแผนการตลาด ทั้งนี้ เมื่อส่งเสริมการบริโภคข้าวพันธุ์ กข 43 ในประเทศจนได้รับความนิยมและ
                  พัฒนาพันธุ์ข้าวเพียงพอต่อการขยายการเพาะปลูก ภาครัฐพร้อมที่จะส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาด
                  ต่างประเทศตามกระแสการรักสุขภาพ เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรมีรายได้และมีความมั่นคงในอาชีพ
                  เกษตรกรอย่างยั่งยืน

                             ตามที่แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรใช้ระบบ “ตลาดนำการผลิต” ซึ่งดำเนินการ
                  มาตั้งแต่ ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เมื่อพิจารณาข้อมูลปริมาณความต้องการใช้ข้าว (Demand) ของข้าว
                  ตลาดเฉพาะ (ข้าวพันธุ์ กข43 ข้าวอินทรีย์ และข้าวสี) ระหว่าง ปี 2561/62-2565/66 พบว่า ปริมาณ
                                          ื่
                  ความต้องการใช้ข้าวเปลือกเพอการบริโภคมีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ 12.23 ต่อปี โดยปี 2561/62
                  มีการใช้เพื่อบริโภค 0.1850 ล้านตันข้าวเปลือก ปี 2565/66 ลดลงเหลือ 0.1210 ล้านตันข้าวเปลือก
                  ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ข้าวสารเพอการบริโภคก็มีแนวโน้มลดลงไปในทิศทางเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ
                                                   ื่
                  12.13 ต่อปี โดยปี 2561/62 มีการใช้เพื่อบริโภค 0.1200 ล้านตันข้าวสาร ปี 2565/66 ลดลงเหลือ

                  0.0790 ล้านตันข้าวสาร (ตารางที่ 2-9 และรูปที่ 2-6)
                             สำหรับปริมาณความต้องการใช้ข้าว (Demand) ของข้าวพันธุ์ กข43 ปี 2561/62-
                  2564/65 พบว่า ปริมาณความต้องการใช้ข้าวเปลือกเพื่อการบริโภคมีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ
                  10.76 ต่อปี โดยปี 2561/62 มีการใช้เพื่อบริโภค 0.0770 ล้านตันข้าวเปลือก ปี 2564/65 ลดลงเหลือ
                  0.0520 ล้านตันข้าวเปลือก ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ข้าวสารเพื่อการบริโภคก็มีแนวโน้มลดลงไป

                  ในทิศทางเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 10.93 ต่อปี โดยปี 2561/62 มีการใช้เพื่อบริโภค 0.0500 ล้านตัน
                  ข้าวสาร ปี 2564/65 ลดลงเหลือ 0.0340 ล้านตันข้าวสาร (ตารางที่ 2-10 และรูปที่ 2-7)
                             ทั้งนี้แนวโน้มการบริโภคที่ลดลง เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการบริโภคและ

                  อุตสาหกรรมลดลงจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44