Page 85 - rubber
P. 85

3-17





                  3.2  นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา


                        3.2.1 นโยบายและมาตรการของรัฐ
                            นโยบายของคณะรัฐมนตรีปี 2562 ซึ่งก้าหนดเป็นกรอบใหญ่เพื่อก้าหนดนโยบาย

                  ยุทธศาสตร์ แผนและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับยุทธศาสตร์ยางพารา โดยมีรายละเอียดดังนี
                            1. รับทราบแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยมีวิสัยทัศน์

                  “ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง” ซึ่งในการด้าเนินการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์
                  ยางพาราฯ ไปสู่การปฏิบัติได้มีการก้าหนดกรอบแนวทางในการด้าเนินการเป็น 3 ระยะ คือ

                  (1) ระยะ 1-5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) (2) ระยะ 6-10 ปี (พ.ศ. 2565-2569) และ (3) ระยะ 11-20 ปี

                  (พ.ศ. 2570-2579 ) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับ
                  เกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพและการ

                  ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

                  ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาตลาดและช่องทางการจัดจ้าหน่าย และยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาปัจจัย
                  สนับสนุน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั งนี  ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับกรอบ

                  ระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ ให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.
                  2560-2579)

                            2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของ

                  กระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการต่างประเทศ
                  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง

                  สาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ส้านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และส้านัก
                  งบประมาณ เช่น ควรให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ

                  อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การด้าเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตาม

                  เป้าหมาย ควรให้การยางแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดท้ารูป
                  รายการมาตรฐานและประมาณราคา รายการปรับปรุงผิวสนามกีฬา รวมทั งแนวปฏิบัติการจัดจ้างใน

                  โครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของหน่วยงานภาครัฐ กรณีมีผู้ว่าจ้างเพียงรายเดียว เพื่อเป็นแบบ

                  มาตรฐานกลาง และการยางแห่งประเทศไทยควรศึกษาแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติใน
                  ประเทศเพิ่มเติม เป็นต้น ไปพิจารณาด้าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

                            3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งด้าเนินการสร้างอุปสงค์

                  (Demand) ของยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา และส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ
                  ให้เพิ่มมากขึ น โดยให้ก้าหนดเป้าหมายการด้าเนินการให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั งให้พิจารณา

                  ความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นหรือการเลี ยงสัตว์ผสมผสานกับการปลูก
                  ยางพาราเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในพื นที่อย่างสูงสุด





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90