Page 56 - rubber
P. 56

2-40






                  ให้เกษตรกรน าไปรับเงินค่ายาง นอกจากการประมูลผ่านสถาบันเกษตรกรแล้ว เกษตรกรรายย่อยหรือผู้

                  ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรก็สามารถน ายางก้อนถ้วยไปจ าหน่ายยังร้านค้า หรือโรงงานแปรรูป

                  ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
                              2. ตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทย เป็นตลาดที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบการยาง

                  แห่งประเทศไทย ว่าด้วยตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2560

                  และระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทย แก้ไขเพิ่มเติม
                  (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ประกอบด้วย ตลาดกลางยางพารา 6 แห่ง

                  และ ตลาดยาง กยท. 16 แห่ง
                                2.1  ตลาดกลางยางพารา คือ ตลาดที่มีการซื้อขายยางที่ด าเนินการโดยการยางแห่ง

                  ประเทศไทย ส่วนใหญ่ให้บริการซื้อขายยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันทุกวันท าการ มีการซื้อขาย

                  แบบส่งมอบยางจริง มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจ าเพื่อให้บริการซื้อขายยางแบบเบ็ดเสร็จรวม 6 ขั้นตอน
                  ได้แก่ การลงทะเบียน คัดคุณภาพ ชั่งน้ าหนัก ประมูล จ่ายเงิน และส่งมอบโดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา

                  และรับผิดชอบของส านักงานตลาดกลางยางพารา ปัจจุบันมี 6 แห่ง ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราสงขลา
                  สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา หนองคาย และบุรีรัมย์ นอกจากให้บริการซื้อขายยางแบบส่งมอบทันที

                  (Spot Markets) แล้ว ตลาดกลางยางพาราบางแห่ง เช่น สตก. จังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช

                  ยังให้บริการซื้อขายยางล่วงหน้าแบบ (Forward Markets) ด้วยวิธีการจับคู่สัญญา ระยะเวลาส่งมอบ 7 วัน
                  หรือ 14 วัน เพื่อให้ผู้ซื้อผู้ขายใช้ประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางด้วย ปริมาณการซื้อขาย

                  ผ่านตลาดชนิดนี้รวมกันมีประมาณปีละ 100,000-150,000 ตัน อย่างไรก็ตามแม้ปริมาณยางที่ซื้อขาย

                  ผ่านตลาดกลางยางพาราจะมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตทั้งหมดของประเทศ แต่ราคายางที่ซื้อขาย
                  ณ ตลาดกลางยางพาราได้ถูกน าไปใช้อ้างอิงในตลาดท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ตลาดกลาง

                  ยางพาราช่วยยกระดับราคายางในท้องถิ่น และสร้างความเป็นธรรมด้านการตลาดแก่เกษตรกร

                                2.2  ตลาดยาง กยท. คือ ตลาดที่มีการซื้อขายยางที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและ
                  รับผิดชอบของการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดหรือสาขายางที่ซื้อขายผ่านตลาดมีหลายชนิด อาทิ

                  น้ ายางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย โดยมีการซื้อขายแบบส่งมอบจริง และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจ า
                  เพื่อให้บริการซื้อขายยางแบบเบ็ดเสร็จทุกขั้นตอน ส่วนใหญ่ซื้อขายตามวันและเวลาที่ก าหนดไว้ล่วงหน้า

                  ไม่ได้เปิดให้บริการทุกวันท าการเหมือนตลาดกลางยางพาราบางแห่งยกระดับมาจากตลาดซื้อขายยาง
                  ระดับท้องถิ่น หรือตลาด 108 เดิม ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นตลาด กยท. ภายใต้ระเบียบการยาง

                  แห่งประเทศไทยว่าด้วยตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2560

                  ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2561 มีตลาดยาง กยท.จ านวน 16 แห่ง ได้แก่ กยท.จ.น่าน  กยท.จ.พะเยา
                  กยท.ส.เมืองเชียงใหม่  กยท.ส.เมืองเชียงราย  กยท.ส.ล าพูน  กยท.ส.ล าปาง  กยท.ส.เชียงของ  กยท.ส.

                  แม่ฮ่องสอน  กยท.ส.เดชอุดม  กยท.จ.ระยอง  กยท.ส.ปะทิว  กยท.ส.เมืองนครศรีธรรมราช  กยท.จ.ระนอง





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61