Page 55 - rubber
P. 55

2-39






                            2) การตลาด

                              ตลาดยางพาราในประเทศไทย
                              ตลาดยางในประเทศ เป็นตลาดที่ให้บริการซื้อขายผลผลิตขั้นต้นที่เกษตรกรชาวสวนยาง

                  ผลิตได้ อาทิ น้ ายางสด ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ บางแห่งให้บริการซื้อขายยางที่มีกระบวนการผลิต
                  ซับซ้อนขึ้น หรือยางแปรรูปขั้นต้นตามมาตรฐานสากลด้วย เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ตลาดยาง

                  ในประเทศ แบ่งได้ 2 ชนิด หลัก ๆ คือ ตลาดซื้อขายยางระดับท้องถิ่น และตลาดยางพาราการยางแห่ง
                  ประเทศไทย ดังนี้

                              1. ตลาดซื้อขายยางระดับท้องถิ่น เป็นตลาดที่มักตั้งอยู่ในแหล่งผลิตยางและชุมชน

                  จึงเอื้ออ านวยต่อการขนส่ง และขายผลผลิตของเกษตรกร ประกอบด้วย ร้านรับซื้อยางในท้องถิ่น
                  โรงงานแปรรูปยาง ตลาดยางเอกชน สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. รวมทั้งตลาด

                  ที่ด าเนินการโดยสถาบันเกษตรกร ตลาดซื้อขายยางระดับท้องถิ่นเป็นตลาดที่มีจ านวนมากที่สุด
                  และผลผลิตยางส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ซื้อขายผ่านตลาดชนิดนี้ ชนิดยางที่ซื้อขายผ่านตลาด

                  มีทั้ง น้ ายางสด ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ยางก้อนถ้วย ยางเครพ ส่วนผู้ขายยางมีหลายประเภท

                  ทั้งเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร และพ่อค้าหรือผู้รวบรวมยาง ขณะที่ผู้ซื้อมักเป็นพ่อค้าคนกลาง
                  ผู้ประกอบกิจการยางในพื้นที่ ตลาดซื้อขายยางระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่มีกฎระเบียบการซื้อขายที่แน่นอน

                  มักซื้อขายยางด้วยวิธีตกลงราคา หรือติดราคารับซื้อยางแต่ละชนิดไว้บริเวณสถานประกอบการ บางแห่ง

                  ยังมีเทคนิคในการจูงใจผู้ใช้บริการ อาทิ รับซื้อยางทุกคุณภาพจ่ายเงินทันที เปิดให้บริการวันหยุดราชการ
                  เป็นต้น

                                แม้ว่าผลผลิตยางหลายชนิด เช่น ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ในตลาดซื้อขายยาง

                  ระดับท้องถิ่น ผู้ซื้อผู้ขายสามารถใช้มาตรฐานยางที่สถาบันวิจัยยางก าหนด เพื่อเป็นเกณฑ์ในการซื้อขายได้
                  แต่เนื่องจากวิธีการประเมินคุณภาพยางดังกล่าว ไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ต้องใช้การประเมินด้วยสายตา

                  จึงมักท าให้ผู้ขายเสียเปรียบผู้ซื้อ ขณะที่การซื้อขายยางก้อนถ้วย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ปัจจุบันใช้การดูลักษณะสัณฐานภายนอกเป็นหลัก ยังไม่มีมาตรฐานและหรือคุณภาพทางวิชาการรองรับ

                  โดยกระบวนการซื้อขายยางก้อนถ้วยส่วนใหญ่ ผู้ซื้อใช้วิธีประมูลผ่านจุดรวบรวมยางของกลุ่มเกษตรกร

                  หรือสถาบันเกษตรกรตามระยะเวลาที่ก าหนด เช่น ทุก 15 วัน โดยมีประธาน และคณะกรรมการกลุ่ม
                  เป็นผู้ด าเนินการ ผู้ประมูลได้จะต้องรับภาระค่าบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรตามที่กลุ่มก าหนด

                  ส่วนขั้นตอนการซื้อขายโดยทั่วไป จะแบ่งเป็น 2 วัน คือ วันแรกเกษตรกรที่เป็นสมาชิกจะน ายางก้อนถ้วย
                  เข้าลานประมูลและรับคิวในการจัดวางเพื่อรอขาย จากนั้นผู้ซื้อจะประมูลยางผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น

                  ยื่นซอง หรือโทรศัพท์ เมื่อยางของสมาชิกเข้าลานประมูลครบแล้ว คณะกรรมการหรือผู้ชนะการประมูล

                  จะท าการเจาะน้ าหรือแทงถุงให้น้ าในถุงยางไหลออกในตอนเย็นของวันเดียวกัน เพื่อให้เหลือส่วนที่เป็นเนื้อยาง
                  ส่วนวันที่สอง คณะกรรมการและผู้ชนะการประมูลท าการชั่งน้ าหนักยาง ออกใบเสร็จรับเงินค่ายาง






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60