Page 45 - rubber
P. 45
2-29
ตารางที่ 2-8 ปริมาณและมูลค่าการน าเข้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราโลก
จ าแนกรายประเทศ ปี 2560
ร้อยละ
ประเทศ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านเหรียญสหรั )
ปริมาณ มูลค่า
สาธารณรัฐประชาชนจีน 2,911,267 5,142 30.98 28.92
สหรัฐอเมริกา 972,305 1,968 10.35 11.07
มาเลเซีย 1,113,006 1,770 11.84 9.96
ญี่ปุ่น 485,217 1,337 5.16 7.52
อินเดีย 410,274 755 4.37 4.25
เกาหลีใต้ 397,444 715 4.23 4.02
เยอรมนี 311,183 600 3.32 3.37
บราซิล 224,598 406 2.39 2.29
สเปน 192,920 373 2.05 2.10
ตุรกี 185,019 345 1.97 1.94
ประเทศอื่น ๆ 2,193,250 4,367 23.34 24.56
รวม 9,396,483 17,778 100.00 100.00
ที่มา: ดัดแปลงข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (2560)
2.6.2 สถานการณ์ยางพาราในประเทศ
1) สถานการณ์การผลิต
เนื้อที่ยืนต้นยางพาราของประเทศไทย ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ระหว่างปี 2553–2562
พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีเนื้อที่ยืนต้น 20.26 ล้านไร่ ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 22.53 ล้านไร่
ในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.89 ต่อปี ส่งผลให้เนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันจาก 14.88 ล้านไร่
ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 20.45 ล้านไร่ ในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33 และผลผลิต 3.58 ล้านตัน
ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 4.84 ล้านตัน ในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก
241 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2553 ลดลงเหลือ 237 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2562 หรือลดลงร้อยละ 0.26
โดยเนื้อที่กรีดได้และผลผลิตเพิ่มขึ้นมีสาเหตุจากในช่วงปี 2553-2554 ราคายางพาราอยู่ในระดับสูง
จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูกโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปัจจุบัน
ประเทศไทย มีเนื้อที่ปลูกยางพารามากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย แต่ประเทศไทย
เป็นประเทศที่มีผลผลิตยางมากที่สุดของโลก (ตารางที่ 2-9 และรูปที่ 2-9 และรูปที่ 2-10)
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน