Page 13 - rubber
P. 13

บทที่ 1

                                                          บทนํา


                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ และเป็นพืชที่เกษตรกรให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นพืชที่

                  สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่างพืชเดิมที่ปลูก อีกทั้งสามารถให้ผลผลิตได้ในระยะยาว ปัจจุบัน

                  เกษตรกรได้หันมาสนใจปลูกยางพารากันมากขึ้น เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่สามารถสร้างผลตอบแทน
                  ได้ดีกว่าพืชเดิมที่ปลูกในพื้นที่ อีกทั้งเป็นพืชที่หวังผลได้ในระยะยาว การลงทุนเพื่อปรับพื้นที่ถือได้ว่า

                  เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เกษตรกรจึงหันมาลงทุนเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น
                  จากกระแสการปรับเปลี่ยนพื้นที่ท านาเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราที่เพิ่มขึ้น ท าให้พื้นที่การเกษตรพืชอาหาร

                  มีพื้นที่ลดลง ซึ่งสวนทางกับจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตภาวะขาดแคลนอาหาร

                  จ าเป็นต้องค านึงถึงการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้เพาะปลูกพืชให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่
                        จากกระแสความนิยมในการปลูกยางพาราที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยางพารายังเป็นพืชที่มีความเสี่ยง

                  ต่อราคาที่มีโอกาสผันผวนได้ตลอดเวลาจากความผันผวนของราคาน้ ามันในตลาดโลก ประกอบกับการ

                  ขยายตัวของการเพิ่มปริมาณการผลิตของประเทศเพื่อนบ้าน อาจส่งผลให้ราคายางพาราตกในอนาคต
                  ดังนั้นภาครัฐจึงมีนโยบายจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยางพาราแห่งชาติ (กนย.) จัดท าแผนยุทธศาสตร์

                  พัฒนายางพารา พ.ศ. 2560-2579 โดยตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ในการขับเคลื่อน

                  ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ได้ก าหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ไว้ดังนี้ 1) จ านวนพื้นที่ปลูกยาง
                  ลดลงจาก 23.3 ล้านไร่ ในปี 2559 เหลือ 18.4 ล้านไร่ ในปี 2579  2) ปริมาณผลผลิตยาง เพิ่มขึ้นจาก

                  224 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในปี 2559 เป็น 360 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในปี 2579  3) สัดส่วนในการใช้ยาง
                  ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.6 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2579  4) มูลค่าการส่งออก

                  ผลิตภัณฑ์ยางพารา เพิ่มขึ้นจาก 250,000 ล้านบาท/ปี ในปี 2559 เป็น 800,000 ล้านบาท/ปี
                  ในปี 2579 เพื่อให้การขับเคลื่อนตามนโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล จึงมีการจัดท าเขตการใช้ที่ดินยางพาราขึ้น

                  เพื่อก าหนดพื้นที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิต โดยค านึงถึงการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

                  อย่างจ ากัดให้เหมาะสมและเป็นธรรมตามศักยภาพของดินเพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากร
                  การผลิตได้อย่างยั่งยืน เน้นความสมดุลทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพตลอดจนเป็นมิตร

                  ต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และสภาพแวดล้อม

                        ในการจัดท ารายงานเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพาราได้จัดท าโดยค านึงถึงความเหมาะสม
                  และศักยภาพของพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราอยู่จริงและให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนา

                  ยางพารา พ.ศ. 2560–2579 รวมถึงพิจารณาปัจจัยการผลิต การแปรรูปในเชิงระบบโลจิสติกส์ ก าหนด

                  เป็นเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา 4 ระดับ สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรลดจ านวนพื้นที่ปลูกยาง




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18