Page 185 - rambutan
P. 185

3-111







                  3.3    นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

                      เงาะเป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีพื้นที่ปลูกน้อยถ้าเปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจหลักชนิดอื่น ๆ
                  ประกอบกับเป็นไม้ผลที่นิยมการบริโภคสดเป็นหลัก การแปรรูปเป็นส่วนน้อย ดังนั้นจึงไม่มีนโยบาย

                  หรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเงาะโดยตรง แต่ทั้งนี้การจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะอยู่ภายใต้

                  นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
                      3.3.1  ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มุ่งในการแก้ไขจุดอ่อน

                  และเสริมจุดแข็งให้เอื้อต่อการพัฒนาภาคการเกษตรในระยะยาว เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมั่นคง

                  ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” โดยมีแนวทางไปสู่เป้าหมาย คือ
                      ยุทธศาสตร์ที่ 1  สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

                      ยุทธศาสตร์ที่ 2  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร

                      ยุทธศาสตร์ที่ 3  เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

                      ยุทธศาสตร์ที่ 4  บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
                      ยุทธศาสตร์ที่ 5  พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

                      ซึ่งพบว่ายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอยู่ในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 2  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ

                  ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ประกอบด้วย 2 แนวทางพัฒนา ได้แก่ 1) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต

                  และคุณภาพมาตรฐานสินค้าสู่มาตรฐานระดับสากล โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความรู้แบบ
                  องค์รวม 2) ส่งเสริมการเกษตรตลอดโซ่อุปทานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมูลค่าสูงมุ่งสู่

                  การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ

                      ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
                  ประกอบด้วย 2 แนวทางพัฒนา ได้แก่ 1) บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับ

                  SDGs (Sustainable Development Goals) 2) ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรให้มีความสมดุลและยั่งยืน

                      3.3.2  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560 – 2564) โดย
                  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติส านักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ว่า

                      การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จ าเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อ

                  วางรากฐานของประเทศในระยะยาวให้มุ่งต่อยอดผลสัมฤทธิ์ของแผนที่สอดคล้องเชื่อมโยงและ
                  รองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกัน ไปตลอด 20 ปี ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2560-2579) โดยมี

                  สาระส าคัญการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จ าเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อ

                  วางรากฐานของประเทศในระยะยาวให้มุ่งต่อยอดผลสัมฤทธิ์ของแผนที่สอดคล้องเชื่อมโยงและ

                  รองรับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องกัน ไปตลอด 20 ปี ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2560-2579) โดย
                  มีสาระส าคัญที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190