Page 148 - rambutan
P. 148

3-74






                              (3)  พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) เงาะที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
                  เล็กน้อย (S3) ได้ผลผลิตเฉลี่ย 873.87 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าผลผลิต 21,270.00 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด

                  12,045.54 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนผันแปร 9,894.30 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 82.14) และต้นทุนคงที่ 2,151.24

                  บาทต่อไร่ (ร้อยละ 17.86) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน 4,628.06 บาทต่อไร่
                  (ร้อยละ 46.78) ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 13,981.64 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุน

                  ผันแปร 11,375.70 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 9,224.46 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วน

                  รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.77 (ตารางที่ 3-24)
                                    เงาะแยกตามช่วงอายุที่ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)

                  พบว่า ผลตอบแทนการผลิตมากที่สุดในช่วงที่เงาะมีอายุ 11-20 ปี กล่าวคือ ผลผลิตเฉลี่ย 1,444.23

                  กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าผลผลิต 35,152.56 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 14,435.16 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุน

                  ผันแปร 12,214.87 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 84.62) และต้นทุนคงที่ 2,220.29 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 15.38)
                  ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน 5,977.44 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 48.94) ได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 25,891.92 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร 22,937.67

                  บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 20,717.40 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน
                  ทั้งหมดเท่ากับ 2.43 เงาะปีที่ 1 และปีที่ 2-3 เกษตรกรยังไม่มีรายได้แต่มีค่าใช้จ่ายในการปลูกและดูแลรักษา

                  เนื่องจากเงาะยังไม่ให้ผลผลิตผลตอบแทนการผลิตทุกประเภทจึงขาดทุน กล่าวคือ ปีที่ 1 ผลตอบแทนเหนือ

                  ต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 3,562.15 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรขาดทุน 5,327.57 บาท
                  ต่อไร่ และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 7,533.29 บาทต่อไร่ ปีที่ 2-3 ผลตอบแทนเหนือ

                  ต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 3,891.07 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรขาดทุน 5,738.56 บาท

                  ต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 7,813.29 บาทต่อไร่ ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตจะเห็นว่า
                  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานมากที่สุดร้อยละ 48.32-51.77 ของต้นทุนผันแปร เป็นแรงงานคน

                  มากกว่าแรงงานเครื่องจักร และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่า 1 (1.73-2.43) แสดงว่า ทุก

                  ช่วงอายุที่เงาะให้ผลผลิตเกษตรกรจะได้รับผลก าไรจากการลงทุน (ตารางที่ 3-25)

                                    การผลิตเงาะตลอดช่วงอายุปีที่ 1-25 คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ในพื้นที่ที่มี
                  ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 1,218.12 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าปัจจุบันของ

                  ต้นทุน รายได้และผลตอบแทนการผลิต มีดังนี้ ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 12,588.07 บาทต่อไร่ รายได้

                  เฉลี่ยต่อปี 22,280.60 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี 9,692.53 บาทต่อไร่ อัตราผลตอบแทน

                  ภายใน (IRR) ร้อยละ 35.46 ต่อปี อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.77 จุดคุ้มทุนในปีที่ 6 นับว่า
                  ได้รับรายได้ต่อปีจากการลงทุนค่อนข้างต ่าแต่ระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างเร็ว คือปีที่ 3 หลังจากปีที่เริ่ม

                  ให้ผลผลิต (ตารางที่ 3-26)
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153